ตำนานพญานาค 15 ตระกูลของหลวงพระบาง
ตำนานพญานาค 15 ตระกูลของหลวงพระบาง
ได้กล่าวถึงตำนานการสร้างเมืองศรีสัตนาคนหุตไปแล้วในตำนานขุนทึง, ขุนเทือง กับนางนาคแอกใค้ ก็พอให้ทราบได้ว่า ประเทศลาวก็เป็นอีกหนึ่งชนชาติที่มีความเชื่อและความสัมพันธ์เหนียวแน่นกับเรื่องราวของพญานาคเช่นเดียวกัน ดังเช่นชื่อเมืองทุกเมืองจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพญานาคเสียส่วนมาก ในการสร้างเมืองหลวงพระบางนั้น ได้นำเอาคติความเชื่อเกี่ยวกับการหาฤกษ์หายามในการขึ้นครองแผ่นดิน โดยนำเอาฤกษ์พญานาคตามคัมภีร์โบราณมาเป็นผู้กำหนด เช่น สัตว์คู่ราศีที่เป็นพญานาค เป็นต้น
ตามตำนานได้กล่าวอีกว่า พระยาศรีสัตนาคที่ครองเมืองหนองกระแสแสนย่าน ได้นำกำลัง 7 โกฏิ ( 7 พันล้าน) ยกลงมาตามแม่น้ำโขง และเป็นต้นกำเนิดของนาค 15 ตระกูล ในหลวงพระบาง เชื่อกันว่า ชาวหลวงพระบางนั้นก็คือ “ชาวนาค” เป็นชนเผ่านาคอีกจำพวกที่มีถิ่นฐานรกรากดั้งเดิมในที่นั้น
ต่อมาเมื่อกล่าวถึง “ขุนลอ” โอรสของขุนบรม เจ้าผู้ครองนครหนองแสที่เป็นบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้าง ขุนลอได้สร้างเมืองเชียงดง หรือเชียงทองขึ้น และต่อมาได้กลายเป็นหลวงพระบางในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการหมายเขตเมือง ที่ปรากฏในตำนานว่า “เอาโง่นหมื่นหลวงเป็นหางนาค” ครั้นเมื่อได้แล้วก็ให้ “เอาปากน้ำคานเป็นหัวนาค” และให้บรรดาอ้าย เอื้อย หมู่พวกเฮาฮ้องชื่อเวียงนี้ว่า “นครเชียงทองศรีสัตตนาค” ตลอดกาล
ต่อมา “นครเชียงทองศรีสัตตนาค” ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหลวงพระบาง ตามตำนาน “พระบาง” ของประเทศลาว ที่ถูกอัญเชิญมาโดยเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง ชาวหลวงพระบางมีความนับถือศรัทธาในพญานาคอย่างแนบแน่น และเชื่อกันว่า ตนเป็นลูกหลานของพญานาค ดังปรากฎเป็นตำนานพญานาค 15 ตระกูลของปู่เจ้าธานีสร้างเมืองล้านช้าง กล่าวว่า มีฤาษีพี่น้อง 2 ตน ได้เรียกพญานาค 15 ตระกูลมาให้ดูแลปกครองบริเวณที่เรียกว่า “เมืองล้านช้าง” และพญานาค 15 ตระกูลนี้ ยังคงปกปักษ์รักษาเขตแดนต่าง ๆ ในอาณาจักร ดังต่อไปนี้
(1) นางพญานาคีดำ สถิต ณ คกท่อน (2) นางพญานาคีด่อน สถิต ณ อยู่คกเฮือ (3) นางพญานาคผมเฝือ (คำเฝือ) สถิต ณ เหนือท่าช้าง (4) ท้าวพญานาคต่งกว้าง สถิต ณ ปากคาน (5) ท้าวพญานาคทองจาน สถิต ณ ผาเดี่ยว (หลุมผาจอมเพช) (6) ท้าวพญานาคคำเหี่ยว สถิต ณ ผาเสื้อ (7) ท้าวพญานาคบุญเยือ สถิต ณ ก้อนก่ายฟ้า (8) ท้าวพญานาคคำหล้า สถิต ณ ผารัง เมืองสบอู (9) ท้าวพญานาคคำบัง สถิต ณ ภูช้าง (10) ท้าวพญานาคบุนกว้าง สถิต ณ ถ้ำภูซวง (11) ท้าวพญานาคบุนเยือง สถิต ณ ก้องหมิดแอ่น (12) ท้าวพญานาคคำแท่น (คำแตน) สถิต ณ ผาชะวา (13) ท้าวพญานาคกองเหลือ สถิต ณ ผาสุมเส้า (ผาย่าเถ้า) (14) พญาอุดมสุภนาคราชเจ้า สถิต ณ สบดง (15) ท้าวไจจำนง (ไกกำนง) สถิต ณ ฮอยพระบาท โดยมีจอมนาคาธิบดีศรีสัตตนาคา ทำหน้าที่ปกครองดูแลพญานาคทั้ง 15 ตระกูลอีกชั้นหนึ่ง และพระองค์ยังทำหน้าที่เฝ้ารักษาสถิต ณ พระธาตุจอมศรี (พูสี) รวมทั้งอภิบาลเมืองหลวงพระบางอีกด้วย
ถ้อยความเหล่านี้ปรากฎให้เห็นเป็นสถาปัตยกรรมของหน้าบันบริเวณพระราชวังหลวงพระบาง ที่นำรูปพญานาคทั้ง 15 ตระกูล รายล้อมด้วยสัญลักษณ์ของช้างเอราวัณ เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพญานาคผู้อภิบาลนครหลวงพระบางแห่งนี้นั่นเอง
ได้กล่าวถึงตำนานการสร้างเมืองศรีสัตนาคนหุตไปแล้วในตำนานขุนทึง, ขุนเทือง กับนางนาคแอกใค้ ก็พอให้ทราบได้ว่า ประเทศลาวก็เป็นอีกหนึ่งชนชาติที่มีความเชื่อและความสัมพันธ์เหนียวแน่นกับเรื่องราวของพญานาคเช่นเดียวกัน ดังเช่นชื่อเมืองทุกเมืองจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพญานาคเสียส่วนมาก ในการสร้างเมืองหลวงพระบางนั้น ได้นำเอาคติความเชื่อเกี่ยวกับการหาฤกษ์หายามในการขึ้นครองแผ่นดิน โดยนำเอาฤกษ์พญานาคตามคัมภีร์โบราณมาเป็นผู้กำหนด เช่น สัตว์คู่ราศีที่เป็นพญานาค เป็นต้น
ตามตำนานได้กล่าวอีกว่า พระยาศรีสัตนาคที่ครองเมืองหนองกระแสแสนย่าน ได้นำกำลัง 7 โกฏิ ( 7 พันล้าน) ยกลงมาตามแม่น้ำโขง และเป็นต้นกำเนิดของนาค 15 ตระกูล ในหลวงพระบาง เชื่อกันว่า ชาวหลวงพระบางนั้นก็คือ “ชาวนาค” เป็นชนเผ่านาคอีกจำพวกที่มีถิ่นฐานรกรากดั้งเดิมในที่นั้น
ต่อมาเมื่อกล่าวถึง “ขุนลอ” โอรสของขุนบรม เจ้าผู้ครองนครหนองแสที่เป็นบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้าง ขุนลอได้สร้างเมืองเชียงดง หรือเชียงทองขึ้น และต่อมาได้กลายเป็นหลวงพระบางในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการหมายเขตเมือง ที่ปรากฏในตำนานว่า “เอาโง่นหมื่นหลวงเป็นหางนาค” ครั้นเมื่อได้แล้วก็ให้ “เอาปากน้ำคานเป็นหัวนาค” และให้บรรดาอ้าย เอื้อย หมู่พวกเฮาฮ้องชื่อเวียงนี้ว่า “นครเชียงทองศรีสัตตนาค” ตลอดกาล
ต่อมา “นครเชียงทองศรีสัตตนาค” ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหลวงพระบาง ตามตำนาน “พระบาง” ของประเทศลาว ที่ถูกอัญเชิญมาโดยเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง ชาวหลวงพระบางมีความนับถือศรัทธาในพญานาคอย่างแนบแน่น และเชื่อกันว่า ตนเป็นลูกหลานของพญานาค ดังปรากฎเป็นตำนานพญานาค 15 ตระกูลของปู่เจ้าธานีสร้างเมืองล้านช้าง กล่าวว่า มีฤาษีพี่น้อง 2 ตน ได้เรียกพญานาค 15 ตระกูลมาให้ดูแลปกครองบริเวณที่เรียกว่า “เมืองล้านช้าง” และพญานาค 15 ตระกูลนี้ ยังคงปกปักษ์รักษาเขตแดนต่าง ๆ ในอาณาจักร ดังต่อไปนี้
(1) นางพญานาคีดำ สถิต ณ คกท่อน (2) นางพญานาคีด่อน สถิต ณ อยู่คกเฮือ (3) นางพญานาคผมเฝือ (คำเฝือ) สถิต ณ เหนือท่าช้าง (4) ท้าวพญานาคต่งกว้าง สถิต ณ ปากคาน (5) ท้าวพญานาคทองจาน สถิต ณ ผาเดี่ยว (หลุมผาจอมเพช) (6) ท้าวพญานาคคำเหี่ยว สถิต ณ ผาเสื้อ (7) ท้าวพญานาคบุญเยือ สถิต ณ ก้อนก่ายฟ้า (8) ท้าวพญานาคคำหล้า สถิต ณ ผารัง เมืองสบอู (9) ท้าวพญานาคคำบัง สถิต ณ ภูช้าง (10) ท้าวพญานาคบุนกว้าง สถิต ณ ถ้ำภูซวง (11) ท้าวพญานาคบุนเยือง สถิต ณ ก้องหมิดแอ่น (12) ท้าวพญานาคคำแท่น (คำแตน) สถิต ณ ผาชะวา (13) ท้าวพญานาคกองเหลือ สถิต ณ ผาสุมเส้า (ผาย่าเถ้า) (14) พญาอุดมสุภนาคราชเจ้า สถิต ณ สบดง (15) ท้าวไจจำนง (ไกกำนง) สถิต ณ ฮอยพระบาท โดยมีจอมนาคาธิบดีศรีสัตตนาคา ทำหน้าที่ปกครองดูแลพญานาคทั้ง 15 ตระกูลอีกชั้นหนึ่ง และพระองค์ยังทำหน้าที่เฝ้ารักษาสถิต ณ พระธาตุจอมศรี (พูสี) รวมทั้งอภิบาลเมืองหลวงพระบางอีกด้วย
ถ้อยความเหล่านี้ปรากฎให้เห็นเป็นสถาปัตยกรรมของหน้าบันบริเวณพระราชวังหลวงพระบาง ที่นำรูปพญานาคทั้ง 15 ตระกูล รายล้อมด้วยสัญลักษณ์ของช้างเอราวัณ เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพญานาคผู้อภิบาลนครหลวงพระบางแห่งนี้นั่นเอง
---------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ
พญานาค จากตำนานสู่ความเชื่อ
ดูรีวิวและช่องทางการสั่งซื้อ << คลิก >> 👇
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น