ตำนานอือลือนาคราชแห่งบึงโขงหลง – ภูลังกา (จ.บึงกาฬ)
ตำนานอือลือนาคราชแห่งบึงโขงหลง – ภูลังกา (จ.บึงกาฬ)
ตามตำนานปู่อือลือนาคราช ที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับบึงโขงหลงและภูลังกานั้น เกิดจากความเชื่อที่ว่า ความรักที่ผิดกฎมณเฑียรบาลระหว่างมนุษย์กับนาค ทำให้เกิดอาเพศ และคำสาปมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวมีอยู่ว่า
บริเวณบึงโขงหลงแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง รัตพานคร มีพระอือลือราชา เป็นผู้ครองนคร และมเหสีชื่อนางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อ พระนางเขียวคำ ต่อมาพระธิดาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสามพันตา มีพระโอรสชื่อ เจ้าชายฟ้ารุ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ และมีรูปงามด้วย ขณะประสูติเจ้าชายฟ้ารุ่ง ท้องฟ้าเกิดความสว่างไสว เป็นนิมิตรหมายของผู้มีบุญบารมีมาจุติ ซึ่งต่อมา เจ้าชายฟ้ารุ่ง ได้อภิเษกสมรสกับ นางนาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาคราชแห่งเมืองบาดาล ที่จำแลงกายมาเป็นมนุษย์ เพื่อเข้าอภิเษกสมรสและจัดงานอย่างมโหฬาร พญานาคราชบิดาของนางนาครินทรานีได้มอบกกุธภัณฑ์ของตระกูลให้ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งสัมพันธไมตรีระหว่างพญานาคราช กับพระเจ้าอือลือราชา ในโอกาสสำคัญนี้ด้วย ทั้งนาคพิภพและเมืองรัตพานครงานรื่นเริงจัดอยู่ถึง 7 วัน 7 คืน โดยพระเจ้าอือลือราชาและเจ้าชายฟ้ารุ่งนั้น ก็ยังไม่ทราบว่างานอภิเษกสมรสนี้ ทั้งสองพระองค์ได้สะใภ้และมเหสีเป็นนางนาคจำแลงกายมา
ต่อมาเจ้าชายฟ้ารุ่ง และนางนาครินทรานี อยู่กินกันมาเป็นเวลา 3 ปี ก็ไม่สามารถจะมีผู้สืบสายสกุลได้ (เพราะธาตุมนุษย์กับนาคไม่สัมพันธ์กัน) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสอง ด้วยความโทมนัสเจ้าหญิงนาครินทรานี ล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางที่เป็นมนุษย์กลับคืนสภาพเดิม ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดออกไปทั่วกรุงรัตพานคร และถึงแม้ว่านางจะร่ายมนตร์กลับเป็นมนุษย์ ประชาชนและพระเจ้าอือลือราชาก็ไม่พอใจ จึงได้ขับไล่นางนาครินทรานีกลับสู่นาคพิภพดังเดิม โดยได้แจ้งให้พญานาคราชมารับตัวกลับไป ก่อนกลับพญานาคราช ได้ขอเครื่องกกุธภัณฑ์ของตระกูลคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนให้ได้ เนื่องจากนำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่น ทำให้พญานาคราชโกรธมาก และประกาศว่าจะทำลายเมืองรัตพานครให้ราบเป็นหน้ากลอง โดยจะเหลือแค่วัดและอารามไว้เท่านั้น
หลังจากพญานาคราชรับธิดานาคกลับไป ในตอนกลางคืน พญานาคราชได้ยกไพร่พลมาถล่มเมืองรัตพานคร และประชาชนก็ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์นาคได้ พอนางนาครินทรานีทราบข่าว ก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง จนถึงแม่น้ำสงคราม ก็ไม่พบ จึงกลับนาคพิภพด้วยความสิ้นหวัง ในกาลนี้เมืองรัตพานครได้ล่มสลายลงกลายเป็น "บึงหลงของ" ต่อมานานชื่อเรียกเพี้ยนเป็น “บึงโขงหลง” และวัดที่เหลืออยู่มีด้วยกัน 3 วัด ก็คือ วัดดอนแก้ว (วัดแก้วฟ้า), วัดดอนโพธิ์ (วัดโพธิสัตว์) และ วัดดอนสวรรค์ (วัดแดนสวรรค์) ทางที่นางนาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง คือ ห้วยน้ำเมา (เมารัก) ส่วนพระอือลือราชา ไม่ได้สิ้นพระชนม์ไปกับเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ถูกพระยานาคราชจับตัวไว้ พร้อมกับสาปให้พระอือลือราชากลายร่างเป็นนาค เฝ้าอยู่ในบึงโขงหลงชั่วนิรันดร์ จนกว่าจะมีเมืองเกิดใหม่ในดินแดนแห่งนี้ จึงจะล้างคำสาปของพระยานาคราชลงได้
เชื่อกันว่าเมื่อเกิดเมืองใหม่แล้ว อือลือนาคจึงพ้นคำสาป ร่างนาคกลายเป็นหิน และดวงจิตกลายเป็นปู่อือลือนาคราช ยังคงปกปักรักษาเมืองแห่งนี้จวบจนถึงปัจจุบัน ตามที่ค้นพบที่ถ้ำนาคา ภูลังกา ปรากฎเป็นผาหินขนาดใหญ่ที่สลักลวดลายด้วยปฏิมากรรมธรรมชาติ เสมือนนาคขนาดกายอยู่ ณ ที่แห่งนั้นนั่นเอง
จากตำนานทางฝั่งลาว - เหนือ - อีสาน ลองมาดูตำนานทางภาคใต้กันบ้างนะครับ จากการศึกษาพบว่า ทางภาคใต้ก็รับเอาวัฒนธรรมความเชื่อมามากพอสมควร จึงพอจะมีเรื่องเล่าขานโบราณให้พอสืบเสาะได้บ้าง ดังนี้
ตามตำนานปู่อือลือนาคราช ที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับบึงโขงหลงและภูลังกานั้น เกิดจากความเชื่อที่ว่า ความรักที่ผิดกฎมณเฑียรบาลระหว่างมนุษย์กับนาค ทำให้เกิดอาเพศ และคำสาปมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวมีอยู่ว่า
บริเวณบึงโขงหลงแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง รัตพานคร มีพระอือลือราชา เป็นผู้ครองนคร และมเหสีชื่อนางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อ พระนางเขียวคำ ต่อมาพระธิดาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสามพันตา มีพระโอรสชื่อ เจ้าชายฟ้ารุ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ และมีรูปงามด้วย ขณะประสูติเจ้าชายฟ้ารุ่ง ท้องฟ้าเกิดความสว่างไสว เป็นนิมิตรหมายของผู้มีบุญบารมีมาจุติ ซึ่งต่อมา เจ้าชายฟ้ารุ่ง ได้อภิเษกสมรสกับ นางนาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาคราชแห่งเมืองบาดาล ที่จำแลงกายมาเป็นมนุษย์ เพื่อเข้าอภิเษกสมรสและจัดงานอย่างมโหฬาร พญานาคราชบิดาของนางนาครินทรานีได้มอบกกุธภัณฑ์ของตระกูลให้ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งสัมพันธไมตรีระหว่างพญานาคราช กับพระเจ้าอือลือราชา ในโอกาสสำคัญนี้ด้วย ทั้งนาคพิภพและเมืองรัตพานครงานรื่นเริงจัดอยู่ถึง 7 วัน 7 คืน โดยพระเจ้าอือลือราชาและเจ้าชายฟ้ารุ่งนั้น ก็ยังไม่ทราบว่างานอภิเษกสมรสนี้ ทั้งสองพระองค์ได้สะใภ้และมเหสีเป็นนางนาคจำแลงกายมา
ต่อมาเจ้าชายฟ้ารุ่ง และนางนาครินทรานี อยู่กินกันมาเป็นเวลา 3 ปี ก็ไม่สามารถจะมีผู้สืบสายสกุลได้ (เพราะธาตุมนุษย์กับนาคไม่สัมพันธ์กัน) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสอง ด้วยความโทมนัสเจ้าหญิงนาครินทรานี ล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางที่เป็นมนุษย์กลับคืนสภาพเดิม ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดออกไปทั่วกรุงรัตพานคร และถึงแม้ว่านางจะร่ายมนตร์กลับเป็นมนุษย์ ประชาชนและพระเจ้าอือลือราชาก็ไม่พอใจ จึงได้ขับไล่นางนาครินทรานีกลับสู่นาคพิภพดังเดิม โดยได้แจ้งให้พญานาคราชมารับตัวกลับไป ก่อนกลับพญานาคราช ได้ขอเครื่องกกุธภัณฑ์ของตระกูลคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนให้ได้ เนื่องจากนำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่น ทำให้พญานาคราชโกรธมาก และประกาศว่าจะทำลายเมืองรัตพานครให้ราบเป็นหน้ากลอง โดยจะเหลือแค่วัดและอารามไว้เท่านั้น
หลังจากพญานาคราชรับธิดานาคกลับไป ในตอนกลางคืน พญานาคราชได้ยกไพร่พลมาถล่มเมืองรัตพานคร และประชาชนก็ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์นาคได้ พอนางนาครินทรานีทราบข่าว ก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง จนถึงแม่น้ำสงคราม ก็ไม่พบ จึงกลับนาคพิภพด้วยความสิ้นหวัง ในกาลนี้เมืองรัตพานครได้ล่มสลายลงกลายเป็น "บึงหลงของ" ต่อมานานชื่อเรียกเพี้ยนเป็น “บึงโขงหลง” และวัดที่เหลืออยู่มีด้วยกัน 3 วัด ก็คือ วัดดอนแก้ว (วัดแก้วฟ้า), วัดดอนโพธิ์ (วัดโพธิสัตว์) และ วัดดอนสวรรค์ (วัดแดนสวรรค์) ทางที่นางนาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง คือ ห้วยน้ำเมา (เมารัก) ส่วนพระอือลือราชา ไม่ได้สิ้นพระชนม์ไปกับเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ถูกพระยานาคราชจับตัวไว้ พร้อมกับสาปให้พระอือลือราชากลายร่างเป็นนาค เฝ้าอยู่ในบึงโขงหลงชั่วนิรันดร์ จนกว่าจะมีเมืองเกิดใหม่ในดินแดนแห่งนี้ จึงจะล้างคำสาปของพระยานาคราชลงได้
เชื่อกันว่าเมื่อเกิดเมืองใหม่แล้ว อือลือนาคจึงพ้นคำสาป ร่างนาคกลายเป็นหิน และดวงจิตกลายเป็นปู่อือลือนาคราช ยังคงปกปักรักษาเมืองแห่งนี้จวบจนถึงปัจจุบัน ตามที่ค้นพบที่ถ้ำนาคา ภูลังกา ปรากฎเป็นผาหินขนาดใหญ่ที่สลักลวดลายด้วยปฏิมากรรมธรรมชาติ เสมือนนาคขนาดกายอยู่ ณ ที่แห่งนั้นนั่นเอง
จากตำนานทางฝั่งลาว - เหนือ - อีสาน ลองมาดูตำนานทางภาคใต้กันบ้างนะครับ จากการศึกษาพบว่า ทางภาคใต้ก็รับเอาวัฒนธรรมความเชื่อมามากพอสมควร จึงพอจะมีเรื่องเล่าขานโบราณให้พอสืบเสาะได้บ้าง ดังนี้
---------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ
พญานาค จากตำนานสู่ความเชื่อ
ดูรีวิวและช่องทางการสั่งซื้อ << คลิก >> 👇
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น