ตำนานพญานาคเมืองมลราช (อำเภอลานสกา นครศรีธรรมราช)
ตำนานพญานาคเมืองมลราช (อำเภอลานสกา นครศรีธรรมราช)
ในสมัยก่อนมีเรือเล่าขานมากมายเกี่ยวกับความศักดิ์และความเป็นมา “ห้วยปากนาคราช”หรือ “ห้วยเทวดานาคราช” เป็นลำห้วยเล็กๆ ที่ไหลจากภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา เหตุที่ได้ชื่อว่า “ห้วยปากนาคราช”ก็ เพราะเป็นลำห้วยที่มีนำไหลมาจากแง่หินที่มีลักษณะคล้ายปากพญานาคราช และมีน้ำใสไหลรินตลอดปี จุดที่นิยมตักไปใช้ประกอบพิธี คือ แอ่งน้ำซึ่งมีสายน้ำเล็กๆ สามสายไหลมารวมกัน น้ำแหล่งนี้จึงถือเป็นน้ำซึ่งอยู่ในชัยภูมิอันดี เปรียบดังปากพญานาคสามตัวพ่นลงอ่างทองคำพร้อมกันน่าจะศักดิ์สิทธิ์และควรค่า แก่การนำไปใช้นำไปใช้ในงานมงคลพิธีเป็นอย่างยิ่งเชื่อว่าพญานาคเป็น สัตว์ผู้เป็นสื่อเชื่อมระหว่างมนุษกับสวรรค์ น้ำที่นี่จึงเหมือนดั่งน้ำที่เทพประทานความอยู่เย็นมาให้ ในครั้งโบราณนั้น ในปัจจุบันทุกปี จะเป็นแหล่งน้ำที่จังหวัดนครศรีธรรมราชใช้สำหรับงานบุญมหาสงกรานต์ อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 108 แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 อีกด้วย
นับแต่โบราณ เมื่อต้องการใช้น้ำพระพุทธมนต์ประกอบพระราชพิธี เช่น น้ำอภิเษก น้ำบรมราชาภิเษก และน้ำพิพัฒน์สัตยา ฯลฯ เจ้าเมืองก็จะให้ราชบุรุษไปพลีกรรม เพื่อเอาน้ำศักดิ์สิทธิ์มาใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้ มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ถึง 6 แหล่งด้วยกัน ประกอบด้วย (1) แหล่งน้ำห้วยปากนาคราช หรือห้วยเทวดานาคราช (2) แหล่งน้ำห้วยเขามหาชัย (3) แหล่งน้ำวัดประตูขาว (4) แหล่งน้ำวัดเสมาชัย (5) แหล่งน้ำวัดเสมาเมือง (6) แหล่งน้ำวัดหน้าพระลาน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดในประเทศไทย
ตามตำนานเดิมกล่าวว่า ประมาณปี พ.ศ.692 มหาพราหมณ์มัลละ เดินทางจากเมืองมัลละกษัตริย์กุสินารา เข้ามาพร้อมบริวารราว 700 คน เพื่อค้นหาสถานที่ตั้งเมืองใหม่ หลังจากช่วยกันสำรวจทำเลที่ตั้งอยู่นานถึง 7 วัน ก็ไม่พบที่อันสมควรแก่การปลูกบ้านสร้างเมือง จึงทำการบวงสรวงบูชาเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา เพื่อขอนิมิตสถานที่เหมาะสมในกาลนี้
เมื่อเสร็จพิธีก็ปรากฎเป็นแสงสว่างแวววับไปจับอยู่ที่แนวป่า คณะของมหาพราหมณ์มัลละจึงเคลื่อนตามไปยังสถานที่ดังกล่าว พลันได้ยินเสียงเล่นน้ำของเหล่าสัตว์ จึงเข้าไปดู และเห็นตรงกันเป็นพญางูกลุ่มใหญ่แหวกว่ายสายน้ำอย่างหรรษา มหาพราหมณ์ผู้ศรัทธาจึงตั้งจิตอธิษฐาน พร้อมพนมมือไหว้กล่าวว่า
“ข้าแต่พญานาคราชผู้ทรงฤทธิ์อันประเสริฐ ข้าน้อยเป็นมัลละพราหมณ์ จากอาณาจักรพนม มาจากเมืองมัลละกษัตริย์กุสินารา ที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันปรินิพพาน หมายจะมาหาที่ตั้งเมืองใหม่ ขออนุญาตพญานาคราชผู้ประเสริฐ โปรดเอ็นดูสงสาร และแนะนำชี้ทางให้แก่ข้าน้อยด้วยเถิด”
ทันใดนั้นพญานาคราชผู้เป็นผู้นำแห่งนาคทั้งปวง ได้เนรมิตกายเป็นครึ่งมานพครึ่งงู ทำการยอกรชุลี (พนมมือไหว้) แล้วกล่าวแก่มหาพราหมณ์ว่า
“มหาพราหมณ์ผู้ประเสริฐ ข้าทราบด้วยญาณว่าท่านจะมาที่นี่ จึงเปล่งแสงรัศมีขึ้นท้องฟ้า เพื่อเป็นสัญญาณให้ท่านมาพบข้า ข้าอนุญาตตามที่ท่านขอ หากต้องการปลูกบ้านสร้างเมืองตรงไหนตามแต่ใจท่านเถิด เพราะในหุบเขาแห่งนี้มีขนเขาน้อยใหญ่ ภูมิสัณฐานเป็นมหาชัย เป็นศิริเป็นศรีเหมาะที่จะเป็นเมืองสำคัญในอนาคตกาล เมื่อนั้นพวกข้าจะกลับไปสู่โพรงถ้ำโพรงบาดาล แล้วจะไม่มารบกวนท่านอีก แต่ขอให้ท่านบวงสรวงบูชาห้วยน้ำลำธารแห่งนี้ไว้ ให้เป็นที่ชื่นใจพักพิงแก่ลูกหลานของท่านเถิด ขออนุโมทนา”
กล่าวเสร็จพญานาคราชก็ลาจากไปพร้อมกับบริวารทั้งหลาย มหาพราหมณ์มัลละจึงได้ปลูกบ้านสร้างเอง และตั้งชื่อเมืองว่า “มลราช” นับแต่นั้นมา (ปัจจุบันคืออำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช) ตามประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองมลราชไว้ว่า ราวพุทธศตวรรษที่ 4 มีชาวอินเดียอพยพเข้ามาสู่นครศรีธรรมราชมากมาย รวมทั้งพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งก่อนหน้านี้อพยพเข้ามาแล้วประมาณ 2,000 ปี ก่อนพุทธกาล ทำให้เกิดเป็นชุมชนพราหมณ์ขึ้น และได้ตั้งเมืองตามริมฝั่งแม่น้ำ และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ ตามจารึกในประวัติศาสตร์ พ.ศ.692 เมืองมลราชที่ลานสกาปรากฎตัวขึ้นในเอกสารโบราณที่นักประวัติศาสตร์กรุงเทพอ้างถึง ซึ่งชาวเมือง มลราชได้นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นหลักก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาในภายหลัง ตามความเชื่อดั้งเดิมของวรรณะพราหมณ์ จะเคารพนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.1191 ชาวจีนได้อพยพเข้ามาและได้ทำการค้าขายกับพราหมณ์และชาวเมืองมลราชโดยทางเรือสำเภาที่ล่องขึ้นมาถึงคลองมลราช ( คลองเขาวังลานสกาในปัจจุบัน) ชาวจีนจึงได้เรียกเมืองมลราชว่า นครโฮลิง ซึ่งแปลว่า "ไข่แดง" เมืองมลราชได้ส่งคณะทูตไปจีนหลายครั้ง ทำให้ชาวจีนทราบว่า เมืองมลราชเป็นเมืองศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ศาสนาพุทธลัทธิหินยาน และ “ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย” ควบรวมกันอยู่ ทำให้จังหวัดนครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรือง โดยมีการค้าขายทางเรือกับนานาชาติที่เมืองท่าเรือ และแม่น้ำทุกสายในภาคใต้ พระภิกษุจีนจึงมักแวะผ่านนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ก่อนเดินทางไป ลังกา และอินเดียทางเรืออยู่เสมอ
ในสมัยก่อนมีเรือเล่าขานมากมายเกี่ยวกับความศักดิ์และความเป็นมา “ห้วยปากนาคราช”หรือ “ห้วยเทวดานาคราช” เป็นลำห้วยเล็กๆ ที่ไหลจากภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา เหตุที่ได้ชื่อว่า “ห้วยปากนาคราช”ก็ เพราะเป็นลำห้วยที่มีนำไหลมาจากแง่หินที่มีลักษณะคล้ายปากพญานาคราช และมีน้ำใสไหลรินตลอดปี จุดที่นิยมตักไปใช้ประกอบพิธี คือ แอ่งน้ำซึ่งมีสายน้ำเล็กๆ สามสายไหลมารวมกัน น้ำแหล่งนี้จึงถือเป็นน้ำซึ่งอยู่ในชัยภูมิอันดี เปรียบดังปากพญานาคสามตัวพ่นลงอ่างทองคำพร้อมกันน่าจะศักดิ์สิทธิ์และควรค่า แก่การนำไปใช้นำไปใช้ในงานมงคลพิธีเป็นอย่างยิ่งเชื่อว่าพญานาคเป็น สัตว์ผู้เป็นสื่อเชื่อมระหว่างมนุษกับสวรรค์ น้ำที่นี่จึงเหมือนดั่งน้ำที่เทพประทานความอยู่เย็นมาให้ ในครั้งโบราณนั้น ในปัจจุบันทุกปี จะเป็นแหล่งน้ำที่จังหวัดนครศรีธรรมราชใช้สำหรับงานบุญมหาสงกรานต์ อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 108 แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 อีกด้วย
นับแต่โบราณ เมื่อต้องการใช้น้ำพระพุทธมนต์ประกอบพระราชพิธี เช่น น้ำอภิเษก น้ำบรมราชาภิเษก และน้ำพิพัฒน์สัตยา ฯลฯ เจ้าเมืองก็จะให้ราชบุรุษไปพลีกรรม เพื่อเอาน้ำศักดิ์สิทธิ์มาใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้ มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ถึง 6 แหล่งด้วยกัน ประกอบด้วย (1) แหล่งน้ำห้วยปากนาคราช หรือห้วยเทวดานาคราช (2) แหล่งน้ำห้วยเขามหาชัย (3) แหล่งน้ำวัดประตูขาว (4) แหล่งน้ำวัดเสมาชัย (5) แหล่งน้ำวัดเสมาเมือง (6) แหล่งน้ำวัดหน้าพระลาน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดในประเทศไทย
ตามตำนานเดิมกล่าวว่า ประมาณปี พ.ศ.692 มหาพราหมณ์มัลละ เดินทางจากเมืองมัลละกษัตริย์กุสินารา เข้ามาพร้อมบริวารราว 700 คน เพื่อค้นหาสถานที่ตั้งเมืองใหม่ หลังจากช่วยกันสำรวจทำเลที่ตั้งอยู่นานถึง 7 วัน ก็ไม่พบที่อันสมควรแก่การปลูกบ้านสร้างเมือง จึงทำการบวงสรวงบูชาเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา เพื่อขอนิมิตสถานที่เหมาะสมในกาลนี้
เมื่อเสร็จพิธีก็ปรากฎเป็นแสงสว่างแวววับไปจับอยู่ที่แนวป่า คณะของมหาพราหมณ์มัลละจึงเคลื่อนตามไปยังสถานที่ดังกล่าว พลันได้ยินเสียงเล่นน้ำของเหล่าสัตว์ จึงเข้าไปดู และเห็นตรงกันเป็นพญางูกลุ่มใหญ่แหวกว่ายสายน้ำอย่างหรรษา มหาพราหมณ์ผู้ศรัทธาจึงตั้งจิตอธิษฐาน พร้อมพนมมือไหว้กล่าวว่า
“ข้าแต่พญานาคราชผู้ทรงฤทธิ์อันประเสริฐ ข้าน้อยเป็นมัลละพราหมณ์ จากอาณาจักรพนม มาจากเมืองมัลละกษัตริย์กุสินารา ที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันปรินิพพาน หมายจะมาหาที่ตั้งเมืองใหม่ ขออนุญาตพญานาคราชผู้ประเสริฐ โปรดเอ็นดูสงสาร และแนะนำชี้ทางให้แก่ข้าน้อยด้วยเถิด”
ทันใดนั้นพญานาคราชผู้เป็นผู้นำแห่งนาคทั้งปวง ได้เนรมิตกายเป็นครึ่งมานพครึ่งงู ทำการยอกรชุลี (พนมมือไหว้) แล้วกล่าวแก่มหาพราหมณ์ว่า
“มหาพราหมณ์ผู้ประเสริฐ ข้าทราบด้วยญาณว่าท่านจะมาที่นี่ จึงเปล่งแสงรัศมีขึ้นท้องฟ้า เพื่อเป็นสัญญาณให้ท่านมาพบข้า ข้าอนุญาตตามที่ท่านขอ หากต้องการปลูกบ้านสร้างเมืองตรงไหนตามแต่ใจท่านเถิด เพราะในหุบเขาแห่งนี้มีขนเขาน้อยใหญ่ ภูมิสัณฐานเป็นมหาชัย เป็นศิริเป็นศรีเหมาะที่จะเป็นเมืองสำคัญในอนาคตกาล เมื่อนั้นพวกข้าจะกลับไปสู่โพรงถ้ำโพรงบาดาล แล้วจะไม่มารบกวนท่านอีก แต่ขอให้ท่านบวงสรวงบูชาห้วยน้ำลำธารแห่งนี้ไว้ ให้เป็นที่ชื่นใจพักพิงแก่ลูกหลานของท่านเถิด ขออนุโมทนา”
กล่าวเสร็จพญานาคราชก็ลาจากไปพร้อมกับบริวารทั้งหลาย มหาพราหมณ์มัลละจึงได้ปลูกบ้านสร้างเอง และตั้งชื่อเมืองว่า “มลราช” นับแต่นั้นมา (ปัจจุบันคืออำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช) ตามประวัติศาสตร์กล่าวถึงเมืองมลราชไว้ว่า ราวพุทธศตวรรษที่ 4 มีชาวอินเดียอพยพเข้ามาสู่นครศรีธรรมราชมากมาย รวมทั้งพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งก่อนหน้านี้อพยพเข้ามาแล้วประมาณ 2,000 ปี ก่อนพุทธกาล ทำให้เกิดเป็นชุมชนพราหมณ์ขึ้น และได้ตั้งเมืองตามริมฝั่งแม่น้ำ และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ ตามจารึกในประวัติศาสตร์ พ.ศ.692 เมืองมลราชที่ลานสกาปรากฎตัวขึ้นในเอกสารโบราณที่นักประวัติศาสตร์กรุงเทพอ้างถึง ซึ่งชาวเมือง มลราชได้นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นหลักก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาในภายหลัง ตามความเชื่อดั้งเดิมของวรรณะพราหมณ์ จะเคารพนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.1191 ชาวจีนได้อพยพเข้ามาและได้ทำการค้าขายกับพราหมณ์และชาวเมืองมลราชโดยทางเรือสำเภาที่ล่องขึ้นมาถึงคลองมลราช ( คลองเขาวังลานสกาในปัจจุบัน) ชาวจีนจึงได้เรียกเมืองมลราชว่า นครโฮลิง ซึ่งแปลว่า "ไข่แดง" เมืองมลราชได้ส่งคณะทูตไปจีนหลายครั้ง ทำให้ชาวจีนทราบว่า เมืองมลราชเป็นเมืองศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ศาสนาพุทธลัทธิหินยาน และ “ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย” ควบรวมกันอยู่ ทำให้จังหวัดนครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรือง โดยมีการค้าขายทางเรือกับนานาชาติที่เมืองท่าเรือ และแม่น้ำทุกสายในภาคใต้ พระภิกษุจีนจึงมักแวะผ่านนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ก่อนเดินทางไป ลังกา และอินเดียทางเรืออยู่เสมอ
---------------------
-------------------------- @ -----------------------------
ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาค ครบสมบูรณ์ หาอ่านได้ในหนังสือ "พญานาค" จากตำนานสู่ความเชื่อ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น