ตำนานท้าวพังคีนาค และผาแดงกับนางไอ่ (หนองหาน กุมภวาปี)
ตำนานท้าวพังคีนาค และผาแดงกับนางไอ่ (หนองหาน กุมภวาปี)
เมื่อกล่าวถึงตำนานผาแดงนางไอ่ อันเป็นเรื่องเล่าขานสืบทอดกันมาช้านานทางฝั่งหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และตำนานเมืองกุมภวาปี ความว่า
ย้อนรอยอดีตเมื่อครั้งเมืองเอกชะทีตานคร (บริเวณหนองหานในปัจจุบัน) มีพระยาขอมครองเมือง พระองค์ทรงมีพระอนุขา (น้องชาย) สององค์ ทรงวางผังเมืองโดยการส่งให้ไปปกครองเมืองเชียงเหียน (อ.เมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และครองเมืองสีแก้ว (อ.เมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังมีหลานอีก 3 คน ส่งให้ไปครองเมืองหงส์เมืองทอง และเมืองฟ้าแดด ตามลำดับ ทรงมีพระธิดาที่เลอโฉม เลื่องลือที่สุดพระนามว่า “ไอ่คำ” ทราบถึงท้าวผาแดง แห่งเมืองผาโพง ถึงขั้นควบม้าคู่ใจชื่อ บักสาม เพื่อตามหาและส่งของบรรณาการเพื่อผูกสัมพันธไมตรีต่อพระนางไอ่คำจนอภิรมย์สมรักกัน ท้าวผาแดงหมายจะกลับเมืองผาโพงเพื่อนำ
ขบวนมาสู่ขอตามพิธี ขณะที่ระหว่างนั้นพระยาขอมผู้หลงใหลในงานประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการขอพร ขอฝนจากพระยาแถนบนฟ้า ให้มีน้ำฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งปีนั้นก็ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก พอดีกับที่ท้าวผาแดงจะมาสู่ขอนางไอ่คำ พระยาขอมก็ได้ประกาศบอกตามหัวเมืองต่าง ๆ ว่า จัดทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน ณ เมืองเอก ชะทีตา หากผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับธิดาของตน ข่าวที่ร่ำลือถึงการแข่งบั้งไฟเพื่อชิงนางผู้มีสิริโฉมงดงามก็แพร่ออกไป
งานบุญบั้งไฟครั้งนี้ เป็นไปอย่างสนุกสนาน เจ้าชายเมืองต่าง ๆ ก็ลุ้นว่าผู้ใดจะชนะ และได้นางไอ่คำไปครอง ผลปรากฏว่า บั้งไฟของพระยาขอมไม่ขึ้นจากห้าง ส่วนของท้าวผาแดงแตกคาห้าง คงมีแค่บั้งไฟของพระยาฟ้าแดด และของพระยาเชียงเหียนเท่านั้นที่ขึ้นนานถึง 3 วัน 3 คืน แต่พระยาทั้งสองเป็นอาของนางไอ่คำ จึงไม่สามารถเสกสมรสได้
แต่ด้วยกิตติศัพท์ความงามของนางไอ่คำไม่ได้ล่วงรู้เพียงเมืองมนุษย์เท่านั้น ท้าวพังคีบุตรชายของพญาศรีสุทโธนาค ก็ทราบเรื่องและอยากยลโฉมความงามของนางไอ่คำเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ที่มีประกาศ ท้าวพังคีก็เคยแอบแปลงกายเป็นกระรอกเผือกขึ้นมายลโฉมนางไอ่คำแล้วครั้งหนึ่งเมื่อมีขบวนแห่ของพระยาขอม และเกิดความหลงใหลเป็นอย่างมากในงานนี้ท้าวพังคีจึงยกไพร่พลขึ้นมาร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟนี้ด้วยการให้บริวารแปลงเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ ส่วนท้าวพังคีแปลงเป็นกระรอกเผือก ที่คอแขวนกระดิ่งทองเช่นเดิม กระโดดไปมาที่กิ่งไม้ใกล้หน้าต่างห้องนอนของนางไอ่คำ การขึ้นมาร่วมงานเมืองมนุษย์นี้ได้รับการทัดทานจากพญาศรีสุทโธนาคผู้เป็นบิดา เนื่องด้วยมนุษย์กับนาคไม่ควรครองรักกัน แต่ท้าวพังคีก็ไม่ฟัง ดันทุรังจะขึ้นมจนได้
เมื่อจบงานพิธี ทั้งท้าวพังคี และท้าวผาแดง ต่างก็กลับบ้านเมืองของตนไป แต่ด้วยความคะนึงหา ท้าวพังคีก็กลับขึ้นมาอีกครั้ง โดยแปลงร่างเป็นกระรอกเผือกไปเกาะกิ่งไม้เดิม และวิ่งไปมาน่าเอ็นดู นางไอ่คำจึงเกิดความพอใจอยากได้กระรอกไว้เลี้ยง สั่งให้นายพรานฝีมือดีออกติดตามจับกระรอกเผือกให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็จับไม่ได้สักที นางไอ่คำเกิดความไม่พอใจ จึงสั่งว่าถ้าจับเป็นไม่ได้ก็จับตาย นายพรานจึงออกไล่ล่ากระรอกเผือกผ่านบ้านพันดอน บ้านน้ำฆ้อง บ้านนาแบก บ้านเหล่าหมากบ้า บ้านเหล่าแชแลหนองแวง บ้านเหล่าใหญ่ บ้านเมืองพรึก บ้านคอนสาย บ้านม่วง และไปสุดที่ต้นมะเดื่อที่มีผลสุกเต็มต้น เจ้ากระรอกเผือกก็ก้มหน้าก้มตากินผลมะเดื่อด้วยความหิวโหยตามสัญชาตญาณสัตว์ที่จำแลง นายพรานที่ไล่ตามมาเกิดความโมโหจึงใช้หน้าไม้อาบยาพิษยิงเจ้ากระรอกเผือกร่วงลงกองกับพื้น ก่อนสิ้นใจท้าวพังคีได้อธิษฐานว่า ขอให้เนื้อของตนมีมากมาย 8,000 เล่มเกวียน มากพอเลี้ยงผู้คนได้ทั้งเมืองอย่างทั่วถึง
เมื่อกระรอกเผือกสิ้นใจ นายพรานกับพวกจึงแบ่งเนื้อกระรอกเผือกให้คนทั่วทั้งเมืองได้กิน เพราะเหตุอัศจรรย์จึงพากันคิดว่าเป็นเนื้อทิพย์ มีเพียงบ้านดอนแม่หม้ายไม่มีผัวที่อยู่กลางทุ่งหนองหานเท่านั้นที่ไม่ได้รับส่วนแบ่ง ความนี้รู้ถึงพญาสุทโธนาคจากบริวารของท้าวพังคี จึงทำให้นาคผู้เป็นบิดาโกรธเกรี้ยวเป็นอย่างมาก ยกไพร่พลบริวารออกถล่มเมืองเอกชะธีตา คร่าชีวิตผู้คนที่กินเนื้อกระรอกเผือกไปมากมายสุดคณานับ แผ่นดินพระยาขอมล่มสลายลงเป็นหนองหานต้นน้ำลำปาว ส่วนบ้านดอนแก้วหรือดอนแม่หม้าย ศูนย์รวมของเหล่าแม่หม้ายซึ่งเป็นที่น้อยเนื้อต่ำใจในการไม่เป็นที่ยอมรับของชาวบ้านมารวมตัวกันพำนักอาศัย อีกทั้งไม่ได้ปันเนื้อกระรอกเผือก จึงไม่ได้ถล่มทลายตามไปด้วย และในคุ้มหลวงที่ไม่ได้รับการปันเนื้อกระรอกเผือก ก็ยังคงอยู่ในลักษณะเป็นเกาะหนึ่งกลางหนองหานในปัจจุบัน
จะกล่าวถึงห้วงที่บ้านเมืองกำลังถูกถล่มด้วยทัพนาค ท้าวผาแดงก็ควบม้าคู่ใจไปหานางไอ่คำ ระหว่างทางเห็นพวกนาคดาษดื่นเต็มเมืองและทราบข่าวของหายนะดังกล่าวเกิดจากชาวเมืองชำแระเนื้อกระรอกเผือกจำแลง บุตรแห่งพญาศรีสุทโธนาคกินเป็นอาหาร จึงหวังใจจะไปเตือนนางไอ่คำ แต่เมื่อไปถึง นางไอ่คำกลับไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำอาหารคาวหวานมาเลี้ยงดูท้าวผาแดงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อได้ทราบความว่าเนื้อกระรอกเผือกนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร นางถึงกับเย็นยะเยือกขึ้นมาในทันใด อันตัวนางไอ่คำได้กินเนื้อกระรอกเผือกไปบ้างแล้ว แต่ท้าวผาแดงยังไม่ได้กินเพราะรู้ความดีก่อนที่จะมาถึง ประจวบกับเสียงแผ่นดินไหวโครมครีนใกล้เข้ามา ท้าวผาแดงทราบทันทีว่าหายนะนี้เกิดจากเนื้อกระรอกของนางไอ่คำที่เผลอกินเข้าไป จึงพานางไอ่คำควบม้าหวังจะหนีให้รอดพ้น สัมภาระที่นางไอ่คำหวงแหนคือฆ้องและกลองคู่ใจที่แบกไปด้วย ทำให้ม้าบักสามควบช้าลง นางจึงโยนกลองทิ้ง (กลายเป็นห้วยกองสีในปัจจุบัน) อีกครู่หนึ่งก็โดยฆ้องทิ้ง (กลายเป็นห้วยน้ำฆ้อง)ต่อมาบักสามหมดเรี่ยวแรง ล้มลง จุดนั้นก็กลายเป็นห้วยสามพาดในปัจจุบัน (ความหมายดังกว่า บักสามพลาดท่า) ไม่ว่าจะหนีอย่างไรกองทัพนาคก็ติดตามมาได้ทันและใช้หางฟาดนางไอ่คำร่วงจากหลังม้าลงสู่ใต้บาดาลในทันที ส่วนท้าวผาแดงแม้จะไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือก แต่ก็ใส่แหวนของนางไอ่คำไว้ที่นิ้วจึงถูกติดตามไม่เลิก นึกขึ้นได้จึงถอดแหวนทิ้งไปและรอดชีวิต (กลายเป็นหนองแหวนในปัจจุบัน)
บางตำนานกล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อท้าวผาแดงกลับถึงเมืองผาโพงเกิดตรอมใจตายด้วยความอาลัยนางไอ่คำ และเมื่อตายไปเป็นผีได้จัดทัพผีมารบกับพญานาคต่อ ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนขอละไว้ เพราะไม่มีเท้าความเหตุใดที่ท้าวผาแดงเป็นผีแล้วมีอำนาจใดจัดกองทัพผีได้ เป็นเรื่องเล่าที่หามูลความตามตำนานไม่เหมาะสม เพราะนาคเป็นที่เกรงกลัวของเหล่าผีสางทั้งหลายตามความเชื่อดั้งเดิม
จากเรื่องราวดังกล่าว ถูกเล่าว่าเป็นกฎแห่งกรรมจากอดีตชาติ คือท้าวพังดีเดิมถือกำเนิดเป็นหนุ่มยากชนและเป็นคนใบ้ ออกขอทานไปตามหมู่บ้านจนมาถึงบ้านเศรษฐีคนหนึ่ง และได้เข้าไปอาศัยในที่นั้น ช่วยทำงานบ้านอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ทำให้เศรษฐีรักใคร่เอ็นดูถึงกับยกลูกสาวนางหนึ่งให้เป็นภรรยา ลูกสาวคนนั้นก็กลับชาติมาเกิดเป็นนางไอ่คำนั่นเอง นายใบ้ถึงแม้จะเอาการเอางานแต่ก็หาได้รักภรรยาไม่ มิเคยหลับนอนฉันสามีภรรยาแม้แต่ครั้งเดียว ภรรยาก็ไม่ปริปากบอกใคร ปรนนิบัติสามีอย่างดีเสมอมา
วันหนึ่ง นายใบ้คิดถึงญาติพี่น้องของตน จึงพาภรรยากลับไปเยี่ยมบ้านเกิด ฝ่ายเศรษฐีก็บุตรสาวจัดเสบียงอาหารตามสามีไป นายใบก็ไม่เคยช่วยเหลือนางแบกหาสัมภาระใดเลย นางก็ทนแบกเสบียงอาหารข้ามห้วย ข้ามเขา จนอาหารหมดลงกลางทาง แต่นายใบ้เห็นต้นมะเดื่อสุกเต็มต้น จึงขึ้นไปเก็บกินแทนข้าว ฝ่ายภรรยาชะเง้อคอมองนายใบ้หวังจะให้โยนลูกมะเดื่อมาให้นางกินบ้าง แต่นายใบ้กลับใส่ใจ กินจนอิ่มแล้วก็ลงจากต้นมะเดื่อเดินหนีไป นางจึงขึ้นเก็บกินเอง เมื่อนางกินอิ่มแล้วกลับลงมาก็ไม่พบนายใบ้ เที่ยวออกตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ นางเกิดความทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง เมื่อถึงต้นไทรริมฝั่งน้ำ นางจึงลงอาบน้ำและดื่มกินจนมีความสดชื่น และอธิษฐานจิตว่า “ชาติหน้าขอให้สามีตายอยู่บนกิ่งไม้ และอย่าได้เป็นสามีภรรยากันอีกเลย” กรรมนี้จึงเกิดขึ้นตามแรงอธิษฐานนั้น
จะเห็นได้ว่าเรื่องเล่าเคล้าตำนานความเชื่อนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่มากมายในเมืองหนองหานสายธารแห่งชีวิต ตามคำขวัญอำเภอกุมภวาปี ถูกเรียงร้อยเชื่อมโยงสัมพันธ์กันมาจนถึงปัจจุบัน และก็อดคิดไม่ได้นะครับเกี่ยวกับตำนานการคร่าชีวิตผู้คนมากมายของพญาศรีสุทโธนาคจากเหตุเพราะท้าวพังคีถูกสังหาร ซึ่งอาจจะเป็นกรรมเวรต่อกันจึงทำให้ศรีสุทโธนาคราชต้องช่วยเหลือผู้คนจนถึงปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงตำนานผาแดงนางไอ่ อันเป็นเรื่องเล่าขานสืบทอดกันมาช้านานทางฝั่งหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และตำนานเมืองกุมภวาปี ความว่า
ย้อนรอยอดีตเมื่อครั้งเมืองเอกชะทีตานคร (บริเวณหนองหานในปัจจุบัน) มีพระยาขอมครองเมือง พระองค์ทรงมีพระอนุขา (น้องชาย) สององค์ ทรงวางผังเมืองโดยการส่งให้ไปปกครองเมืองเชียงเหียน (อ.เมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และครองเมืองสีแก้ว (อ.เมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังมีหลานอีก 3 คน ส่งให้ไปครองเมืองหงส์เมืองทอง และเมืองฟ้าแดด ตามลำดับ ทรงมีพระธิดาที่เลอโฉม เลื่องลือที่สุดพระนามว่า “ไอ่คำ” ทราบถึงท้าวผาแดง แห่งเมืองผาโพง ถึงขั้นควบม้าคู่ใจชื่อ บักสาม เพื่อตามหาและส่งของบรรณาการเพื่อผูกสัมพันธไมตรีต่อพระนางไอ่คำจนอภิรมย์สมรักกัน ท้าวผาแดงหมายจะกลับเมืองผาโพงเพื่อนำ
ขบวนมาสู่ขอตามพิธี ขณะที่ระหว่างนั้นพระยาขอมผู้หลงใหลในงานประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการขอพร ขอฝนจากพระยาแถนบนฟ้า ให้มีน้ำฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งปีนั้นก็ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก พอดีกับที่ท้าวผาแดงจะมาสู่ขอนางไอ่คำ พระยาขอมก็ได้ประกาศบอกตามหัวเมืองต่าง ๆ ว่า จัดทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน ณ เมืองเอก ชะทีตา หากผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับธิดาของตน ข่าวที่ร่ำลือถึงการแข่งบั้งไฟเพื่อชิงนางผู้มีสิริโฉมงดงามก็แพร่ออกไป
งานบุญบั้งไฟครั้งนี้ เป็นไปอย่างสนุกสนาน เจ้าชายเมืองต่าง ๆ ก็ลุ้นว่าผู้ใดจะชนะ และได้นางไอ่คำไปครอง ผลปรากฏว่า บั้งไฟของพระยาขอมไม่ขึ้นจากห้าง ส่วนของท้าวผาแดงแตกคาห้าง คงมีแค่บั้งไฟของพระยาฟ้าแดด และของพระยาเชียงเหียนเท่านั้นที่ขึ้นนานถึง 3 วัน 3 คืน แต่พระยาทั้งสองเป็นอาของนางไอ่คำ จึงไม่สามารถเสกสมรสได้
แต่ด้วยกิตติศัพท์ความงามของนางไอ่คำไม่ได้ล่วงรู้เพียงเมืองมนุษย์เท่านั้น ท้าวพังคีบุตรชายของพญาศรีสุทโธนาค ก็ทราบเรื่องและอยากยลโฉมความงามของนางไอ่คำเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ที่มีประกาศ ท้าวพังคีก็เคยแอบแปลงกายเป็นกระรอกเผือกขึ้นมายลโฉมนางไอ่คำแล้วครั้งหนึ่งเมื่อมีขบวนแห่ของพระยาขอม และเกิดความหลงใหลเป็นอย่างมากในงานนี้ท้าวพังคีจึงยกไพร่พลขึ้นมาร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟนี้ด้วยการให้บริวารแปลงเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ ส่วนท้าวพังคีแปลงเป็นกระรอกเผือก ที่คอแขวนกระดิ่งทองเช่นเดิม กระโดดไปมาที่กิ่งไม้ใกล้หน้าต่างห้องนอนของนางไอ่คำ การขึ้นมาร่วมงานเมืองมนุษย์นี้ได้รับการทัดทานจากพญาศรีสุทโธนาคผู้เป็นบิดา เนื่องด้วยมนุษย์กับนาคไม่ควรครองรักกัน แต่ท้าวพังคีก็ไม่ฟัง ดันทุรังจะขึ้นมจนได้
เมื่อจบงานพิธี ทั้งท้าวพังคี และท้าวผาแดง ต่างก็กลับบ้านเมืองของตนไป แต่ด้วยความคะนึงหา ท้าวพังคีก็กลับขึ้นมาอีกครั้ง โดยแปลงร่างเป็นกระรอกเผือกไปเกาะกิ่งไม้เดิม และวิ่งไปมาน่าเอ็นดู นางไอ่คำจึงเกิดความพอใจอยากได้กระรอกไว้เลี้ยง สั่งให้นายพรานฝีมือดีออกติดตามจับกระรอกเผือกให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็จับไม่ได้สักที นางไอ่คำเกิดความไม่พอใจ จึงสั่งว่าถ้าจับเป็นไม่ได้ก็จับตาย นายพรานจึงออกไล่ล่ากระรอกเผือกผ่านบ้านพันดอน บ้านน้ำฆ้อง บ้านนาแบก บ้านเหล่าหมากบ้า บ้านเหล่าแชแลหนองแวง บ้านเหล่าใหญ่ บ้านเมืองพรึก บ้านคอนสาย บ้านม่วง และไปสุดที่ต้นมะเดื่อที่มีผลสุกเต็มต้น เจ้ากระรอกเผือกก็ก้มหน้าก้มตากินผลมะเดื่อด้วยความหิวโหยตามสัญชาตญาณสัตว์ที่จำแลง นายพรานที่ไล่ตามมาเกิดความโมโหจึงใช้หน้าไม้อาบยาพิษยิงเจ้ากระรอกเผือกร่วงลงกองกับพื้น ก่อนสิ้นใจท้าวพังคีได้อธิษฐานว่า ขอให้เนื้อของตนมีมากมาย 8,000 เล่มเกวียน มากพอเลี้ยงผู้คนได้ทั้งเมืองอย่างทั่วถึง
เมื่อกระรอกเผือกสิ้นใจ นายพรานกับพวกจึงแบ่งเนื้อกระรอกเผือกให้คนทั่วทั้งเมืองได้กิน เพราะเหตุอัศจรรย์จึงพากันคิดว่าเป็นเนื้อทิพย์ มีเพียงบ้านดอนแม่หม้ายไม่มีผัวที่อยู่กลางทุ่งหนองหานเท่านั้นที่ไม่ได้รับส่วนแบ่ง ความนี้รู้ถึงพญาสุทโธนาคจากบริวารของท้าวพังคี จึงทำให้นาคผู้เป็นบิดาโกรธเกรี้ยวเป็นอย่างมาก ยกไพร่พลบริวารออกถล่มเมืองเอกชะธีตา คร่าชีวิตผู้คนที่กินเนื้อกระรอกเผือกไปมากมายสุดคณานับ แผ่นดินพระยาขอมล่มสลายลงเป็นหนองหานต้นน้ำลำปาว ส่วนบ้านดอนแก้วหรือดอนแม่หม้าย ศูนย์รวมของเหล่าแม่หม้ายซึ่งเป็นที่น้อยเนื้อต่ำใจในการไม่เป็นที่ยอมรับของชาวบ้านมารวมตัวกันพำนักอาศัย อีกทั้งไม่ได้ปันเนื้อกระรอกเผือก จึงไม่ได้ถล่มทลายตามไปด้วย และในคุ้มหลวงที่ไม่ได้รับการปันเนื้อกระรอกเผือก ก็ยังคงอยู่ในลักษณะเป็นเกาะหนึ่งกลางหนองหานในปัจจุบัน
จะกล่าวถึงห้วงที่บ้านเมืองกำลังถูกถล่มด้วยทัพนาค ท้าวผาแดงก็ควบม้าคู่ใจไปหานางไอ่คำ ระหว่างทางเห็นพวกนาคดาษดื่นเต็มเมืองและทราบข่าวของหายนะดังกล่าวเกิดจากชาวเมืองชำแระเนื้อกระรอกเผือกจำแลง บุตรแห่งพญาศรีสุทโธนาคกินเป็นอาหาร จึงหวังใจจะไปเตือนนางไอ่คำ แต่เมื่อไปถึง นางไอ่คำกลับไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำอาหารคาวหวานมาเลี้ยงดูท้าวผาแดงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อได้ทราบความว่าเนื้อกระรอกเผือกนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร นางถึงกับเย็นยะเยือกขึ้นมาในทันใด อันตัวนางไอ่คำได้กินเนื้อกระรอกเผือกไปบ้างแล้ว แต่ท้าวผาแดงยังไม่ได้กินเพราะรู้ความดีก่อนที่จะมาถึง ประจวบกับเสียงแผ่นดินไหวโครมครีนใกล้เข้ามา ท้าวผาแดงทราบทันทีว่าหายนะนี้เกิดจากเนื้อกระรอกของนางไอ่คำที่เผลอกินเข้าไป จึงพานางไอ่คำควบม้าหวังจะหนีให้รอดพ้น สัมภาระที่นางไอ่คำหวงแหนคือฆ้องและกลองคู่ใจที่แบกไปด้วย ทำให้ม้าบักสามควบช้าลง นางจึงโยนกลองทิ้ง (กลายเป็นห้วยกองสีในปัจจุบัน) อีกครู่หนึ่งก็โดยฆ้องทิ้ง (กลายเป็นห้วยน้ำฆ้อง)ต่อมาบักสามหมดเรี่ยวแรง ล้มลง จุดนั้นก็กลายเป็นห้วยสามพาดในปัจจุบัน (ความหมายดังกว่า บักสามพลาดท่า) ไม่ว่าจะหนีอย่างไรกองทัพนาคก็ติดตามมาได้ทันและใช้หางฟาดนางไอ่คำร่วงจากหลังม้าลงสู่ใต้บาดาลในทันที ส่วนท้าวผาแดงแม้จะไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือก แต่ก็ใส่แหวนของนางไอ่คำไว้ที่นิ้วจึงถูกติดตามไม่เลิก นึกขึ้นได้จึงถอดแหวนทิ้งไปและรอดชีวิต (กลายเป็นหนองแหวนในปัจจุบัน)
บางตำนานกล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อท้าวผาแดงกลับถึงเมืองผาโพงเกิดตรอมใจตายด้วยความอาลัยนางไอ่คำ และเมื่อตายไปเป็นผีได้จัดทัพผีมารบกับพญานาคต่อ ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนขอละไว้ เพราะไม่มีเท้าความเหตุใดที่ท้าวผาแดงเป็นผีแล้วมีอำนาจใดจัดกองทัพผีได้ เป็นเรื่องเล่าที่หามูลความตามตำนานไม่เหมาะสม เพราะนาคเป็นที่เกรงกลัวของเหล่าผีสางทั้งหลายตามความเชื่อดั้งเดิม
จากเรื่องราวดังกล่าว ถูกเล่าว่าเป็นกฎแห่งกรรมจากอดีตชาติ คือท้าวพังดีเดิมถือกำเนิดเป็นหนุ่มยากชนและเป็นคนใบ้ ออกขอทานไปตามหมู่บ้านจนมาถึงบ้านเศรษฐีคนหนึ่ง และได้เข้าไปอาศัยในที่นั้น ช่วยทำงานบ้านอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ทำให้เศรษฐีรักใคร่เอ็นดูถึงกับยกลูกสาวนางหนึ่งให้เป็นภรรยา ลูกสาวคนนั้นก็กลับชาติมาเกิดเป็นนางไอ่คำนั่นเอง นายใบ้ถึงแม้จะเอาการเอางานแต่ก็หาได้รักภรรยาไม่ มิเคยหลับนอนฉันสามีภรรยาแม้แต่ครั้งเดียว ภรรยาก็ไม่ปริปากบอกใคร ปรนนิบัติสามีอย่างดีเสมอมา
วันหนึ่ง นายใบ้คิดถึงญาติพี่น้องของตน จึงพาภรรยากลับไปเยี่ยมบ้านเกิด ฝ่ายเศรษฐีก็บุตรสาวจัดเสบียงอาหารตามสามีไป นายใบก็ไม่เคยช่วยเหลือนางแบกหาสัมภาระใดเลย นางก็ทนแบกเสบียงอาหารข้ามห้วย ข้ามเขา จนอาหารหมดลงกลางทาง แต่นายใบ้เห็นต้นมะเดื่อสุกเต็มต้น จึงขึ้นไปเก็บกินแทนข้าว ฝ่ายภรรยาชะเง้อคอมองนายใบ้หวังจะให้โยนลูกมะเดื่อมาให้นางกินบ้าง แต่นายใบ้กลับใส่ใจ กินจนอิ่มแล้วก็ลงจากต้นมะเดื่อเดินหนีไป นางจึงขึ้นเก็บกินเอง เมื่อนางกินอิ่มแล้วกลับลงมาก็ไม่พบนายใบ้ เที่ยวออกตามหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ นางเกิดความทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง เมื่อถึงต้นไทรริมฝั่งน้ำ นางจึงลงอาบน้ำและดื่มกินจนมีความสดชื่น และอธิษฐานจิตว่า “ชาติหน้าขอให้สามีตายอยู่บนกิ่งไม้ และอย่าได้เป็นสามีภรรยากันอีกเลย” กรรมนี้จึงเกิดขึ้นตามแรงอธิษฐานนั้น
จะเห็นได้ว่าเรื่องเล่าเคล้าตำนานความเชื่อนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่มากมายในเมืองหนองหานสายธารแห่งชีวิต ตามคำขวัญอำเภอกุมภวาปี ถูกเรียงร้อยเชื่อมโยงสัมพันธ์กันมาจนถึงปัจจุบัน และก็อดคิดไม่ได้นะครับเกี่ยวกับตำนานการคร่าชีวิตผู้คนมากมายของพญาศรีสุทโธนาคจากเหตุเพราะท้าวพังคีถูกสังหาร ซึ่งอาจจะเป็นกรรมเวรต่อกันจึงทำให้ศรีสุทโธนาคราชต้องช่วยเหลือผู้คนจนถึงปัจจุบัน
---------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ
พญานาค จากตำนานสู่ความเชื่อ
ดูรีวิวและช่องทางการสั่งซื้อ << คลิก >> 👇
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น