ตำนานพินทโยนกวตินาค รบกับ ธนะมูลนาค "พญานาค" จากตำนานสู่ความเชื่อ
ตำนานพินทโยนกวตินาค รบกับ ธนะมูลนาค
มีนาค 2 ตัวเป็นมิตรสหายกันอยู่ในหนองแส (ในความนี้หมายถึงทะเลสาบเตียนฉือ คุนหมิง) ตัวหนึ่งชื่อพินทโยนกวตินาค เป็นใหญ่อยู่หัวหนอง อีกตัวหนึ่งชื่อธนะมูลนาค เป็นใหญ่อยู่ท้ายหนองกับด้วยชีวายนาคผู้หลาน
นาคทั้งสองคือพินทโยนกวตินาคกับธนะมูลนาคให้ความสัตย์ ไว้ซึ่งกันและกันว่า ถ้าหากมีสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งมาตกที่หัวหนองก็ดี ตกที่ท้ายหนองก็ดี เราทั้งสองรักกันด้วยอาหารการเลี้ยงชีวิต เราทั้งสองจงเอาเนื้อสัตว์นั้นๆ มาแบ่งปันแก่กันเพื่อเลี้ยงชีวิต แล้วตั้งชีวายนาค ผู้เป็นหลานให้เป็นสักขี เมื่อนาคทั้งสองให้สัตย์ปฏิญาณแก่กันดังนั้น แล้วต่างก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตน
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ยังมีช้างสารตัวหนึ่งตกลงที่ท้ายหนอง ธนะมูลนาคจึงเอาเนื้อสัตว์นั้นมาแบ่งปันออกเป็น 2 ส่วน เอาไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภค
อยู่ต่อมาอีกสองสามวันมีเม่นตัวหนึ่งมาตกลงที่หัวหนอง พินทโยนกวตินาคก็เอาเนื้อสัตว์มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เอาไปใน มูลนาคส่วนหนึ่ง ธนะมูลนาคบริโภคไม่พออิ่ม แต่บังเอิญมองไปเห็นขนเม่นยาวแค่ศอกก็บังเกิดมีความโกรธขึ้น นําเอาขนเม่นไปให้ชีวายนาคผู้เป็นหลานดู แล้วกล่าวว่าคําสัตย์ปฏิญาณของเรากับพินทโยนกวตินาคจะขาดจากกันเสียแล้ว
เมื่อเราได้ช้างสารมาเป็นอาหารครั้งนั้น เราก็เอาเนื้อนั้นมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่งไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง เราเอาไว้บริโภคส่วนหนึ่งก็พออิ่มถึงแม้ขนก็พอปานนั้น แต่เราเห็นว่าเม่นนี้จะใหญ่โตกว่าช้างสารนัก เพราะขนก็โตยาวเป็นศอก เหตุใดพินทโยนกวตินาคจึงให้เนื้อแก่เราน้อยเช่นนี้ เราบริโภคก็ไม่อิ่ม
ตั้งแต่นั้นมา นาคทั้งสองก็เกิดทะเลาะวิวาทกัดกันขึ้นในหนอง เป็นเหตุให้น้ำขุ่นมัวไปสิ้นทั้งหนอง สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในหนองนั้นตายกันสิ้น เมื่อพระอาทิตย์ทรงทราบ จึงใช้ให้วิสุกรรมเทวบุตร ลงมาขับไล่นาคทั้งสองให้ออกไปเสียจากหนองนั้น นาคทั้งสองก็วัดเหวี่ยงกัดกันหนีออกจากหนองแสไปด้วยอก ดินก็ลึกเป็นคลอง
ชีวายนาคเห็นดังนั้นจึงได้คุ้ยควักให้เป็นแม่น้ำออกไปตามคลองอกแห่งนาคทั้งสอง แม่น้ำนั้นจึงเรียกชื่อว่าอุรังคนที หรือแม่น้ำอู ส่วนพินทโยนกวตินาคได้คุ้ยควักให้เป็นแม่น้ำออกไปทางเมืองเชียงใหม่ เรียกชื่อว่าแม่น้ำพิง และเมืองโยนกวตินคร ตามชื่อนาคตัวนั้น
ส่วนผียักษ์ผีเปรตเห็นสัตว์ทั้งหลายในน้ำหนองแสตายมากนัก เป็นต้นว่า จระเข้, เหี้ย, เต่า จึงพากันมาชุมนุมกันอยู่ในที่นั้น พวก นาคก็พากันหนีไปอยู่ที่อื่น เช่น ปัพพารนาคคุ้ยควักหนีไปอยู่ที่ภูเขาหลวง ทําให้พญาเงือกตัวหนึ่งกับพญางูตัวหนึ่งไม่ต้องการปะปนด้วย จึงคุ้ยควักออกไปเป็นแม่น้ำอันหนึ่งมีนามว่าแม่น้ำงึม หรือแม่น้ำเงือกงู
ฝ่ายธนะมูลนาคหนีไปอยู่ที่ใต้ดอยกัปปนคีรีคือภูกําพร้า ประดิษฐานพระธาตุพนม พวกนาคที่กลัวผียิ่งกว่านาคทั้งหลายก็พากันไปขออยู่กับธนะมูลนาค แล้วหนีไปจนถึงน้ำสมุทรจึงเรียกว่าน้ำลี่ผี (หลี่ผี สปป.ลาว) ต่อมาน้ำที่อยู่ของธนะมูลนาคเกิดแห้งแล้ง ธนะมูลนาคจึงคุ้ยควักเป็น แม่น้ำออกไปถึงเมืองกรุนทนคร, แม่น้ำนั้นจึงชื่อว่าแม่น้ำมูลนที หรือ แม่น้ำมูล ตามชื่อนาค
ข้างชีวายนาคก็คุ้ยควักจากแม่น้ำมูลออกเป็นแม่น้ำ, อ้อมเมือง พระยาสมุทรอุทกที่กินเมืองหนองหานหลวง พร้อมทั้งเมืองขุนขอม นครหนองหานน้อย ตลอดขึ้นไปถึงเมืองกรุนทนคร, แต่นั้นมาแม่น้ำ นั้นจึงได้ชื่อว่าแม่น้ำชีวายนที หรือแม่น้ำชี
นาคในนิทานเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนหนองแสอันเป็นถิ่นที่อยู่ของนาคคือทะเลสาบเตียนฉือ ที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน เป็นแหล่งผลิตกลองทอง (มโหระทึก) สัมฤทธิ์ ยุคแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ (มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ 2 เล่ม คือ (1) ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม โดย ศรีศักร วัลลิโภดม และ สุจิตต์ วงษ์เทศ สํานักพิมพ์มติชน 2536, (2) คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสํานักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2537)
นิทานเรื่องนี้พยายามจะบอกว่าในยุคดึกดําบรรพ์นานมาแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่งเคลื่อนย้ายมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแม่น้ำโขง ผ่านลําน้ำอูเข้ามาอยู่สองฝั่งโขงบริเวณที่เป็นประเทศลาวและภาคเหนือ กับภาคอีสานของไทย แม้จะยึดถือเป็นความจริงไม่ได้ทั้งหมด แต่เมื่อพิจารณาประกอบหลักฐานทางโบราณคดีก็จะพบว่ามีหลายส่วนแฝง เรื่องจริงเอาไว้ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ, ระบบความเชื่อเกี่ยวกับ นาค ฯลฯ
อ้างอิง : [อุรังคธาตุ (ตํานานพระธาตุพนม) กรมศิลปากร พิมพ์เนื่องในการสัมมนาทาง วิชาการเรื่อง “วรรณกรรมสองฝั่งโขง” ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อ พ.ศ. 2537 หน้า 90-92]
ตำนานนี้จะคล้ายคลึงกับศรีสุทโธนาค และสุวรรณนาค เชื่อว่าการเล่าขานสืบทอดน่าจะมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน
มีนาค 2 ตัวเป็นมิตรสหายกันอยู่ในหนองแส (ในความนี้หมายถึงทะเลสาบเตียนฉือ คุนหมิง) ตัวหนึ่งชื่อพินทโยนกวตินาค เป็นใหญ่อยู่หัวหนอง อีกตัวหนึ่งชื่อธนะมูลนาค เป็นใหญ่อยู่ท้ายหนองกับด้วยชีวายนาคผู้หลาน
นาคทั้งสองคือพินทโยนกวตินาคกับธนะมูลนาคให้ความสัตย์ ไว้ซึ่งกันและกันว่า ถ้าหากมีสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งมาตกที่หัวหนองก็ดี ตกที่ท้ายหนองก็ดี เราทั้งสองรักกันด้วยอาหารการเลี้ยงชีวิต เราทั้งสองจงเอาเนื้อสัตว์นั้นๆ มาแบ่งปันแก่กันเพื่อเลี้ยงชีวิต แล้วตั้งชีวายนาค ผู้เป็นหลานให้เป็นสักขี เมื่อนาคทั้งสองให้สัตย์ปฏิญาณแก่กันดังนั้น แล้วต่างก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตน
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ยังมีช้างสารตัวหนึ่งตกลงที่ท้ายหนอง ธนะมูลนาคจึงเอาเนื้อสัตว์นั้นมาแบ่งปันออกเป็น 2 ส่วน เอาไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภค
อยู่ต่อมาอีกสองสามวันมีเม่นตัวหนึ่งมาตกลงที่หัวหนอง พินทโยนกวตินาคก็เอาเนื้อสัตว์มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เอาไปใน มูลนาคส่วนหนึ่ง ธนะมูลนาคบริโภคไม่พออิ่ม แต่บังเอิญมองไปเห็นขนเม่นยาวแค่ศอกก็บังเกิดมีความโกรธขึ้น นําเอาขนเม่นไปให้ชีวายนาคผู้เป็นหลานดู แล้วกล่าวว่าคําสัตย์ปฏิญาณของเรากับพินทโยนกวตินาคจะขาดจากกันเสียแล้ว
เมื่อเราได้ช้างสารมาเป็นอาหารครั้งนั้น เราก็เอาเนื้อนั้นมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่งไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง เราเอาไว้บริโภคส่วนหนึ่งก็พออิ่มถึงแม้ขนก็พอปานนั้น แต่เราเห็นว่าเม่นนี้จะใหญ่โตกว่าช้างสารนัก เพราะขนก็โตยาวเป็นศอก เหตุใดพินทโยนกวตินาคจึงให้เนื้อแก่เราน้อยเช่นนี้ เราบริโภคก็ไม่อิ่ม
ตั้งแต่นั้นมา นาคทั้งสองก็เกิดทะเลาะวิวาทกัดกันขึ้นในหนอง เป็นเหตุให้น้ำขุ่นมัวไปสิ้นทั้งหนอง สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในหนองนั้นตายกันสิ้น เมื่อพระอาทิตย์ทรงทราบ จึงใช้ให้วิสุกรรมเทวบุตร ลงมาขับไล่นาคทั้งสองให้ออกไปเสียจากหนองนั้น นาคทั้งสองก็วัดเหวี่ยงกัดกันหนีออกจากหนองแสไปด้วยอก ดินก็ลึกเป็นคลอง
ชีวายนาคเห็นดังนั้นจึงได้คุ้ยควักให้เป็นแม่น้ำออกไปตามคลองอกแห่งนาคทั้งสอง แม่น้ำนั้นจึงเรียกชื่อว่าอุรังคนที หรือแม่น้ำอู ส่วนพินทโยนกวตินาคได้คุ้ยควักให้เป็นแม่น้ำออกไปทางเมืองเชียงใหม่ เรียกชื่อว่าแม่น้ำพิง และเมืองโยนกวตินคร ตามชื่อนาคตัวนั้น
ส่วนผียักษ์ผีเปรตเห็นสัตว์ทั้งหลายในน้ำหนองแสตายมากนัก เป็นต้นว่า จระเข้, เหี้ย, เต่า จึงพากันมาชุมนุมกันอยู่ในที่นั้น พวก นาคก็พากันหนีไปอยู่ที่อื่น เช่น ปัพพารนาคคุ้ยควักหนีไปอยู่ที่ภูเขาหลวง ทําให้พญาเงือกตัวหนึ่งกับพญางูตัวหนึ่งไม่ต้องการปะปนด้วย จึงคุ้ยควักออกไปเป็นแม่น้ำอันหนึ่งมีนามว่าแม่น้ำงึม หรือแม่น้ำเงือกงู
ฝ่ายธนะมูลนาคหนีไปอยู่ที่ใต้ดอยกัปปนคีรีคือภูกําพร้า ประดิษฐานพระธาตุพนม พวกนาคที่กลัวผียิ่งกว่านาคทั้งหลายก็พากันไปขออยู่กับธนะมูลนาค แล้วหนีไปจนถึงน้ำสมุทรจึงเรียกว่าน้ำลี่ผี (หลี่ผี สปป.ลาว) ต่อมาน้ำที่อยู่ของธนะมูลนาคเกิดแห้งแล้ง ธนะมูลนาคจึงคุ้ยควักเป็น แม่น้ำออกไปถึงเมืองกรุนทนคร, แม่น้ำนั้นจึงชื่อว่าแม่น้ำมูลนที หรือ แม่น้ำมูล ตามชื่อนาค
ข้างชีวายนาคก็คุ้ยควักจากแม่น้ำมูลออกเป็นแม่น้ำ, อ้อมเมือง พระยาสมุทรอุทกที่กินเมืองหนองหานหลวง พร้อมทั้งเมืองขุนขอม นครหนองหานน้อย ตลอดขึ้นไปถึงเมืองกรุนทนคร, แต่นั้นมาแม่น้ำ นั้นจึงได้ชื่อว่าแม่น้ำชีวายนที หรือแม่น้ำชี
นาคในนิทานเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์ของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนหนองแสอันเป็นถิ่นที่อยู่ของนาคคือทะเลสาบเตียนฉือ ที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน เป็นแหล่งผลิตกลองทอง (มโหระทึก) สัมฤทธิ์ ยุคแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ (มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ 2 เล่ม คือ (1) ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม โดย ศรีศักร วัลลิโภดม และ สุจิตต์ วงษ์เทศ สํานักพิมพ์มติชน 2536, (2) คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสํานักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2537)
นิทานเรื่องนี้พยายามจะบอกว่าในยุคดึกดําบรรพ์นานมาแล้ว มีคนกลุ่มหนึ่งเคลื่อนย้ายมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแม่น้ำโขง ผ่านลําน้ำอูเข้ามาอยู่สองฝั่งโขงบริเวณที่เป็นประเทศลาวและภาคเหนือ กับภาคอีสานของไทย แม้จะยึดถือเป็นความจริงไม่ได้ทั้งหมด แต่เมื่อพิจารณาประกอบหลักฐานทางโบราณคดีก็จะพบว่ามีหลายส่วนแฝง เรื่องจริงเอาไว้ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ, ระบบความเชื่อเกี่ยวกับ นาค ฯลฯ
อ้างอิง : [อุรังคธาตุ (ตํานานพระธาตุพนม) กรมศิลปากร พิมพ์เนื่องในการสัมมนาทาง วิชาการเรื่อง “วรรณกรรมสองฝั่งโขง” ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อ พ.ศ. 2537 หน้า 90-92]
---------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ
พญานาค จากตำนานสู่ความเชื่อ
ดูรีวิวและช่องทางการสั่งซื้อ << คลิก >> 👇
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น