บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2024

"พญานาค" เป็นเดรัจฉาน ไม่สมควรกราบไหว้ จริงหรือไม่??

รูปภาพ
“พญานาค” ตำนานที่อยู่คู่กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงมานาน ไม่ว่าจะเป็น ไทย ลาว กัมพูชา และมูลเหตุที่ว่า พญานาคเป็นเดรัจฉานที่ไม่สมควรกราบไหว้ จริงหรือไม่? วันนี้เรามาคิดภาพตามกันทีละฉาก ทีละตอนแบบมีสติพิจารณาร่วมกันนะครับ ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนเลยว่า พื้นฐานที่มาของความเชื่อนั้น เกิดกับทุกศาสนาบนโลก เพราะหากมนุษย์ไม่เชื่อในคำสอนของศาสดา ก็ไม่สามารถน้อมนำการนับถือศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธเชื่อในการเคยมีอยู่ของพระพุทธเจ้า และน้อมนำหลักคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งก็พบว่าน้อยมากนะครับในปัจจุบัน รู้ทฤษฎีและข้อธรรมไว้ตบหน้ากัน แต่ปฏิบัติกันแทบไม่ได้ กลายเป็นกระแสสังคมที่สร้างความดราม่า ปรามาสกันไปมาแบบสวมหัวโขนก็มีให้เห็นมากมาย ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เชื่อการมีอยู่ของอาตมัน ที่หมายถึงตัวตนหรือดวงวิญญาณ หรือเชื่อในปรมาตมัน คือเชื่อว่าเป็นอาตมันสูงสุด อันเป็นต้นกำเนิด และจุดศูนย์รวมของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้ฉีกหลักคำสอนของพราหมณ์-ฮินดูออกมาเป็น วิญญาณไม่ใช่ตัวตน และการหลุดพ้นคือปรินิพพาน นอกจากนี้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยังเชื่อในการมีอยู่ของ

รับขันธ์ คืออะไร

รูปภาพ
  #รับขันธ์ คืออะไร? ... ขันธ์ในทางพุทธศาสนา หมายถึง รูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่การรับขันธ์ในทางไสยศาสตร์ หรือศาสตร์แห่งไสย จะว่าด้วยไศว หรือไศย ก็ตาม นั้นมาจากอารยธรรมขอมโบราณ ที่ผสมผสานศาสนาผีและพราหมณ์เข้าไว้ด้วยกัน ลักษณะของขันธ์ คือการรับขัน (ขันที่เป็นภาชนะนี่แหละ) โดยอิงหลักของรูปธรรมและนามธรรมของคนรับกับ ผี เทวดาเบื้องล่าง เจ้าแม่ เจ้าพ่อ เจ้าที่เจ้าทาง ผีฟ้า ฯลฯ ผสานรวมร่าง และน้อมนำเข้ามาสู่ตัว อุทิศร่างของตนเป็นทางผ่านให้ผีสางเทวดาเหล่านั้นใช้เป็นสังขารชั่วคราว เพื่อทำกิจทางโลก อันเป็นผลแห่งกิเลสทั้งปวง ปัจจุบัน เหล่าหมอดูร่างทรงไม่มีความรู้มากพอ รวมถึงครูบาอาจารย์ แม้กระทั่งสงฆ์นอกรีตทั้งหลาย ก็จะนำเอาพิธีรับขันธ์ มาตีออกเป็น ขันธ์ ๕, ขันธ์ ๘, ขันธ์ ๑๖ แล้วก็มโนเอาว่า คือการให้คนรับนั้นรักษาศีล เช่น ขันธ์ ๕ คือรักษาศีล ๕ ข้อ, ๘ ข้อ และ ๑๖ ข้อ เรียกได้ว่าเป็นการรีมิกซ์ความเชื่อแบบแนบเนียนครับ เอาพิธีพราหมณ์เข้าวัด เอาพิธีผีเข้าโบสถ์ ทำกันจนเห็นเป็นเรื่องปกติวิสัยไป โดยส่วนตัวผมมองว่า จะต่างศาสนา ต่างวิถี ต่างความเชื่อ เป็นเรื่องนานาจิตต