บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2024

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๗ สหัสธาร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
๗. สหัสธาร (Sahasrara) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑,๐๐๐ กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล พลังศักติ หรือพลังคอสมิก และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และสั่งการของสมองส่วนกลาง ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๗ อยู่กลางฝ่ามือ ในส่วนนี้เราได้ทำการบริหารควบคู่ไปกับทุกจักระแล้วดังกล่าวข้างต้น ก็คือดึงลมเข้ากำหนดรับพลังคอสมิคผ่านกลางกระหม่อม ดึงลงสุดท้องน้อย กักลมไว้พร้อมกำหนดจิตไปที่จักระต่าง ๆ การกำหนดจิตไปที่จักระดังกล่าวนั้นก็คือการเคลื่อนพลังคอสมิคไปที่จักระนั้นนั่นเองครับ หลักการง่ายมาก และเมื่อบริหารจักระนั้นแล้วเราก็ผ่อนลมออก ปล่อยออกไป กลับไปทางกลางกระหม่อมเหมือนเดิม ขณะที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ทำคลิปเกี่ยวกับเทคนิคเหล่านี้ ไว้มีโอกาสจะจัดทำไว้ให้สำหรับคนที่สนใจศึกษาและฝึกปฏิบัติ ก็ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละลำดับ อย่าไปจับหลักเยอะโดยที่เราจำไม่ได้นำมาปฏิบัติให้ส่งผลดีต่อร่างกายไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ ทำน้อยแต่ชำนาญและเห็นผล ดีกว่าหมก...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๖ อาชณะจักระ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๖. อาชณะจักระ (Ajna) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๒ กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนล่างและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๖ อยู่ที่ปลายนิ้วนาง การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วนางแบบนี้ หมายถึงการสื่อสารกับองค์ความรู้นอกโลก (หอสมุดแห่งจักรวาล) หรือการเชื่อมโยงพลังต่อคุรุภายใจ การหยั่งรู้พิเศษและการเกิดจิตเหนือสำนึก บริหารจักระก็ทำเหมือนเดิมทุกประการ เปลี่ยนท่าสลับการจรดนิ้ว ขณะกักลมกำหนดจิตไปที่กลางหน้าผากระหว่างคิ้วสองข้างเหนือหว่างคิ้วไปเล็กน้อย จุดเดียวกับตันเถียนบน

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๕ วิสุทธิ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
๕. วิสุทธิ (Vishuddha) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๖ กลีบ สีฟ้าเข้ม ตำแหน่งกระดูกต้นคอตัดมาที่ลำคอเหนือกล่องเสียง ควบคุมระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ คอ ปาก ลิ้น ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๕ อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หมายถึง การกระตุ้นปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมาธิ ข้อสังเกตคือ ปางมือนี้ จะตรงกับวิตรรกมุทรา หรือพระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปปางแสดงธรรมอีกด้วย การฝึกบริหารจักระทำเหมือนเดิมครับ เปลี่ยนการจรดนิ้ว วางท่าเดิม ดึงลมตามสูตรเดิม เพิ่มเติมคือขณะกักลมหายใจ ให้กำหนดจิตไปอยู่ที่ลำคอตรงบริเวณเหนือกล่องเสียง พอเริ่มฝึกจนชำนาญแล้ว อาจจะเปลี่ยนการกักลมเป็น ๓-๕ วินาทีได้

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๔ อนาหตะ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๔. อนาหตะ (Anahata) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๒ กลีบ สีเขียว อยู่ตำแหน่งกลางกระดูกสันหลังแนวเดียวกับหัวใจตัดผ่านมากลางหน้าอก เป็นขุมพลังแห่งความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกปลอดภัย การให้อภัย ควบคุมการทำงานของหัวใจ การหายใจ มีคุณสมบัติ ที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความร่าเริง ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๔ อยู่ที่ปลายนิ้วก้อย การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วก้อยในลักษณะนี้ หมายถึง การสื่อสารบนพื้นโลกทุกชนิด เช่น จิตวิญญาณ พลังงานรอบตัว สัตว์ ต้นไม้ และคนทั่วไปก็ตาม วิธีการบริหารจักระก็กระทำเหมือนเดิมครับ วางท่าเพียงแค่เปลี่ยนนิ้วที่ จีบเป็นนิ้วโป้งจรดนิ้วก้อย วางพาดบนหัวเข่าท่าเดิม ดึงลมในลักษณะเดิมทุกประการ สูดหายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ ให้ถึงท้องน้อย พร้อมกำหนดความรู้สึกว่าพลังคอสมิคไหลลงกลางศรีษะ วิ่งลงไปสู่ท้องน้อยพร้อมลมหายใจ หลังจากนั้นกักเก็บลมไว้ ๒-๓ วินาที พร้อมกำหนดความรู้สึกไปที่กลางทรวงอก ปล่อยลมออกทางปากพร้อมกำหนดความรู้สึกว่า พลังคอสมิคทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว และไหลขึ้นพร้อมลมหายใจแผ่ออกกลางศรีษะกลับสู่ธรรมชาติดังเดิม

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๓ มณีปุระ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๓. มณีปุระ (Manipura) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๐ กลีบ สีเหลือง ตำแหน่งบริเวณบั้นเอว ตรงกับแนวสะดือ เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ ความทะยานอยาก ความต้องการที่ไม่ผ่านการขัดเกลา เป็นขุมพลังการเผาผลาญพลังงานและเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมการทำงานของ ท้อง ตับ กระเพาะอาหาร ลำใส้ ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๓ อยู่ที่ปลายนิ้วกลาง การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วกลางแบบนี้หมายถึง การบำบัดรักษา ความอุดมสมบูรณ์ การโปรดสัตว์ และความเจริญในโภคทรัพย์สมบัติ หลักในการบริหารจักระที่สามก็กระทำเหมือนการดึงลมที่อธิบายไปแล้ว โดยให้คุณอยู่ในท่าที่สบาย ผ่อนคลาย ปล่อยวางทุกสิ่ง น้อมนำจิตใจว่าฉันกำลังจะบริหารร่างกายด้วยการหายใจ เอานิ้วกลางจรดนิ้วโป้งทั้งสองข้างซ้ายขวา วางพาดไปบนหัวเข่าในลักษณะหงายจีบขึ้น ปล่อยลมออกให้หมดท้อง แล้วดึงลมไปสู่ตันเถียนล่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ ขณะดึงลมให้กำหนดความรู้สึกด้วยว่าพลังงานคอสมิคได้ไหลลงกลางศรีษะ และกำลังวิ่งไปพร้อมลมหายใจของเราและเข้าสู่จักระ ๒ หรือตันเถียนล่าง หลังจากนั้นกักเก็บลมไว้ประมาณ ๒-๓ วินาที ในห้วงเวลาที่กักเก็บลม กำหนดความรู้สึกไปที่กลา...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๒ สวาธิษฐาน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๒. สวาธิษฐาน (Swadhisthana) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๖ กลีบ สีส้ม อยู่ตำแหน่งใต้สะดือเหนืออวัยวะเพศตัดไปถึงปลายสุดก้นกบ ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และกระจายพลังที่ได้รับออกไปยังอวัยวะต่าง ๆ ควบคุมการทำงานของตับ ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๒ อยู่ที่ปลายนิ้วโป้ง ตรงนี้พอให้เราจับจุดได้แล้วนะครับว่า การผสานมือขวาทับมือซ้าย นิ้วโป้งจรดกัน นั่นหมายถึงการควบคุมแหล่งพลังงานที่ตำแหน่งนี้ เพื่อให้ฐานร่างกายมั่นคงและสามารถเข้าสู่กรรมฐานได้นาน เพราะการหล่อเลี้ยงพลังงานจากสวาธิษฐาน ซึ่งตามศาสตร์จีนก็คือตันเถียนล่างที่ผู้เขียนอธิบายไปแล้วในส่วนของการฟอกปอดนั่นเอง และอีกความเชื่อมโยงของจักระ ๒ ที่กำหนดไว้ที่ปลายนิ้วโป้ง เดี๋ยวเราจะเห็นว่าลีลาการจีบนิ้วของมุทรา ใช้นิ้วโป้งเป็นฐานเสมอ นั่นคือการเข้าระบบฝึกสมาธิด้วยการดึงลมหายใจ จะกำหนดจิตกำหนดใจไปที่จุดไหนในร่างกาย ลมต้องสุดลงไปที่ท้องน้อย ขังอยู่ที่ท้องน้อย ๒-๓ วินาทีนั่นเอง เราลองมาพิจารณากันในข้อต่อไป

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๑ มูลธาร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ๑. มูลธาร (Muladhara) หรือ กุณฑาลินี (Kundalini) หรือ เซอร์เพนทีน(Serpentine) สัญลักษณ์แทนคือดอกบัว ๔ กลีบ สีแดง ตำแหน่งอยู่ตรงกลางฝีเย็บระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เป็นขุมพลังของแต่ละชีวิต ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากงูไฟ หรือกุณฑาลินี ที่ผุดขึ้นมาจากใจกลางโลกและแผ่ขึ้นมาบนผืนดินบริเวณที่มีความร้อนเช่น ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน หรือผ่านต้นไม้ใหญ่ขึ้นมาก็เป็นได้ กล่าวกันว่า เวลาที่เรามีเรี่ยวแรงทำอะไรอย่างมหาศาล เช่น ตกใจบ้านไฟไหม้แล้วยกตู้เย็นคนเดียวได้ หรือ วิ่งหนีอะไรสักอย่างได้เป็น 10 กิโล เพราะคิดว่าเห็นผี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังจากมูลธารจักระทั้งสิ้น ควบคุมการทำงานของ ต่อมลูกหมาก เพศ และระบบสืบพันธุ์ ในความเชื่อมโยมของมุทรา จักระ ๑ อยู่ที่บริเวณข้อมือ ในลักษณะของมุทราจะเห็นว่า จักระ ๑ ไม่สามารถกำหนดรูปลักษณ์ทางนิ้วมือได้ นั่นเพราะจักระนี้เป็นเสมือนขุมพลังในจักรวาล หลักในการฝึกเราจะไม่กระตุ้นให้จักระ ๑ ตื่นด้วยวิธีกำหนดสมาธิ หรืออะไรที่ไปรบกวน เพราะในภาษานักฝึกจักระจะเรียกว่าการตื่น จักระนี้จะตื่นด้วยตัวเอง และเป็นฐานรากส...

มุทรากับจักระทั้ง ๗ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       เรื่องของมุทรา เผื่อใครที่สนใจให้นำไปเป็นแนวทางการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวคุณเอง กล่าวกันว่า ที่มือของคนเราเสามารถเชื่อมโยงจุดสำคัญบนร่างกายทั้งหมด ๗ จุดด้วยกัน หรือที่รู้จักในนาม จักระทั้ง ๗ คำว่าจักระ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “กงล้อ” เมื่อถูกนำมาตีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับศาสตร์ของการฝึกสมาธิเพื่อดูดซับพลังในห้วงจักรวาลที่หลั่งไหล ลงมาพื้นโลก และขุมพลังแห่งพื้นโลกที่พวยพุ่งขึ้นไปสู่จักรวาล คำว่าพลังจักรวาล จึงหมายถึง “วัฏจักรแห่งชีวิต” เป็นพลังงานที่หมุนวน สับเปลี่ยน ไม่มีที่สิ้นสุด และยังปรากฎในคัมภีร์พระเวทย์ของอินเดียโบราณ (อินโด-อารยัน) ที่สืบทอดกันมาอีกด้วย โดยพลังงานที่หลั่งไหลมาจากห้วงจักรวาลนี้ เรียกได้ว่าเป็นพลังบริสุทธิ์ เป็นพลังงานศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่มีอำนาจขับเคลื่อนเอกภพ หรือเหนือจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถกำหนดได้ และเป็นพลังที่ถ่ายทอดมาจากมหาเทวีอาทิศักติผู้ยิ่งใหญ่ ทางอินเดียจึงเรียกพลังนี้ว่า “พลังศักติ” ถ้าเป็นแถบอียิปต์โบราณ ซึ่งต่อมาถูกเผยแพร่ในยุโรปและอเมริกา ในชื่อ “พลังคอสมิค” หรือคนไทยเรียกว่าพลังกายทิพย์ ซึ่งพอพูดมาถึงตรง...

ที่มาของลักษณะมือของพระพุทธองค์ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
     ลักษณะมือเวลาทำสมาธิ ท่านอาจจะเคยสงสัยว่า ลักษณะมือของพระพุทธองค์ หรือพระพุทธรูปทำไมมีหลากหลาย แบ่งออกเป็นปางต่าง ๆ นั่นก็เพื่อให้สอดคล้องกับพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง แต่ท่าทางพระหัดถ์ที่แสดงแตกต่างกันนั้นในบางส่วนมีที่มาจาก “มุทรา” โดยบันทึกคำว่ามุทรา หรือ มูดราส (Mudra) เป็นท่ามือที่ใช้เพื่อกระตุ้นสภาวะจิตใจ เป็นวิถีเก่าแก่ของอินเดียโบราณ ในพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะอินเดียยุคแรก ๆ ลักษณะมือที่ปรากฎ  เป็นมุทราให้เห็นผ่านพระพุทธรูป ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ภูมิสปรศมุทรา), ปางสมาธิ (ธยานมุทรา), ปางปฐมเทศนา (ธรรมจักรมุทรา), ปางทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา), ปางประทานอภัย (อภัยมุทรา) และปางประทานพร (วรมุทรา) ส่วนคำว่าปางนี้หมายถึงครั้งนั้น คราวนั้น กล่าวให้ระลึกถึงพุทธประวัติ เช่น ปางมารวิชัย หมายถึง เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงชนะพญาวสวัตตีมารนั่นเอง      ในลักษณะการวางมือ การจรดนิ้วของพระพุทธรูปหลายปาง คือรูปแบบของมุทราหรือเรียกกันอีกอย่างว่าปางมือ เช่นปางสมาธิ คือใช้มือขวาทับมือซ้าย นิ้วโป้งชิดติดกัน นั่นเป็นลักษณะของพระพุทธรูปปางสม...

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๑๐ การทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๑๐. การทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม หรือ “ทิฏฐุชุกรรม” คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีทิฐิ ไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง หรือการถืออัตตา คิดว่าตนเองถูกต้องเสมอโดยไม่ฟังคำทัดทานจากผู้อื่นที่แนะนำความจริงตามหลักจริยธรรม และคุณธรรมอันดี การคิดดี การคิดชอบ ย่อมเกิดบุญในข้อนี้ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้ต้องอาศัยการขัดเกลาจิตให้ใส ให้บริสุทธิ์ ลดอัตตาตนเองลงมา ไม่เห็นผิดเป็นถูก ไม่เห็นผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ในข้อนี้คงต้องอาศัยการพิจารณาศึกษาพระธรรมอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เข้าใจพระธรรมที่ตรงตามความเป็นจริง และด้วยความเห็นพระธรรมเป็นจริงและถูกต้องนี้ ปัญญาก็เกิดเป็นบุญกุศล ซึ่งความเห็นตรงในบุญ ๑๐. นี้ จะทำให้บุญประการอื่นเจริญขึ้นนั่นเอง

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๙ การแสดงธรรม โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๙. การแสดงธรรม หรือ “ธรรมเทศนามัย” ส่วนใหญ่เราจะเห็นจากพระสงฆ์ แต่หากเรามีความเข้าใจในธรรมะข้อนั้น ก็สามารถเผยแพร่บอกต่อได้ แบบนี้ก็เป็นบุญ ซึ่งในส่วนนี้ไม่ขออธิบายอะไรมาก เพราะเราท่านสายมูเตลูคงไม่มีโอกาส หรืออาจจะมีก็ส่วนน้อย เพราะต้องเป็นคนที่ปฏิบัติอย่างเข้าใจในระดับที่สูงมากพอจึงสามารถแสดงธรรมได้ แต่ถ้าเรากันเองคุยกับเพื่อนแล้วเราอธิบายข้อดีของศีล ของบุญ ของบาปได้ แบบนั้นก็จัดว่าเป็นบุญในข้อนี้ได้เหมือนกัน ถ้าเราไขข้อสงสัย และสามารถทำให้ผู้ฟังน้อมนำไปใช้ได้ หรือเข้าใจ และตั้งใจที่จะทำตามได้ถูกต้องตามหลักธรรม

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๘ การช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๘. การฟังธรรม หรือ “ธรรมสวนมัย” ทำให้เกิดความรู้แจ้ง คลายปม คลายสงสัย และเป็นการปรับความคิดภายในใจ ให้เห็นแสงสว่างมากขึ้น แบบนี้ก็ได้บุญ แต่ต้องไม่ใช่นั่งฟังไปหลับไปนะครับ ต้องทบทวนความเข้าใจไปตามคำพระท่านด้วย แล้วเราเห็นชอบมากแค่ไหน สอบถามได้ คลายปมในใจได้มากแค่ไหน เข้าใจแล้วคิดที่น้อมนำไปปฏิบัติมากเพียงใดด้วย แต่ก็ต้องยอมรับนะครับว่า ปัจจุบันนี้ พระนักเทศน์ที่จะเอาข้อธรรมมาสอนญาติโยมแล้วให้อินตามหายาก ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเดิม ๆ ทาน ศีล ภาวนา พูดแบบเดิม คนฟังก็เบื่อ เหมือนประมาณว่ารู้อยู่แล้ว ฟังกี่ทีก็พูดเรื่องพวกนี้ แบบนี้การฟังธรรมแล้วเข้าถึงอย่างใจจริงของฆราวาสก็ลดน้อยลง บุญในข้อนี้คงต้องพึ่งพระนักเทศน์เป็นสำคัญด้วยว่า ท่านจะทำให้เราเข้าถึง เข้าใจ เบิกบานใจ มีความสุขจากการฟังธรรมได้มากแค่ไหนนะครับ

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๗ การอนุโมทนาบุญ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๗. การอนุโมทนาบุญ หรือ “ปัตตานุโมทนามัย” คือการร่วมยินดี หรือชื่นชมในบุญของผู้อื่นจากก้นบึ้งของหัวใจ ไม่อิจฉา ไม่คิดอกุศล บางคนปากบอกอนุโมทนาแต่ใจคิดอิจฉาริษยาเขาไปแล้วหนึ่ง แบบนี้จิตใจอกุศล ผลบุญไม่เกิด ถ้าเราปล่อยวางได้ ถึงแม้ว่าคนที่ไปทำบุญนั้นเป็นคนที่เราไม่ชอบ แต่เราปลดบ่วงได้ อโหสิกรรมให้กับเขาได้ และร่วมอนุโมทนาบุญด้วยความยินดีกับเขา จิตใจเราจะปลอดโปร่งโล่งสบาย เราจะแบกเอาความทุกข์จากการเกลียดชังไว้เพื่ออะไร ชีวิตคนเราก็มีเท่านี้ ถ้าจะชังหน้ากันไป ใส่หน้ากากหากันไปในแต่ละวัน ต่อหน้าอย่างหนึ่งพอลับหลังเอาเขาไปนินทา แบบนั้นนอกจากจะไม่ได้บุญ ต้องระวังบาปไว้อีกด้วย เพราะการที่เรากล่าวกับเขาว่า “อนุโมทนาบุญด้วยนะ” แต่ใจไม่ซื่อ เอาเขาไปว่าให้เสียหาย เท่ากับผิดศีลข้อ ๔ ไปในตัวเรียบร้อย ดังนั้น เรื่องการกล่าวอนุโมทนานี้สำคัญที่จิตใจ เพราะถ้าความรู้สึกของเราไม่ได้ยินดีในบุญนั้นอย่างแท้จริง เท่ากับเราปั้นเทียนไม่สำเร็จ แล้วเราจะเอาเทียนที่ไหนไปขอต่อเปลวเทียนของคนอื่น

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๖ การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นร่วมในบุญ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
บุญ ๖. การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นร่วมในบุญ หรือ “ปัตติทานมัย” คือเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมาร่วมบุญด้วย ไม่หวงบุญไว้ทำคนเดียว เช่น จะสร้างระฆังถวายวัด ด้วยคิดว่าความดังของระฆัง หรือเสียงของระฆัง จะทำให้ฉันโดดเด่นมีชื่อเสียง เขาเรียกว่าทำทานหวังผลทางตรง แบบนี้ไม่เกิดอาการของบุญ คิดว่าจะได้แบบนั้น จะได้แบบนี้ แล้วก็มโนอยู่กับตัวเอง “ฉันดังแน่ ฉันได้แน่” แบบนี้บุญนั้นสูญเปล่า เพราะความสุขความอิ่มเอมใจมันไปอยุ่กับการมโนไปเสียหมด และเป็นที่น่าแปลกเพราะคนเราเวลาทำบุญก็มักจะคิดกันแบบนี้ ถวายอะไรเพื่ออะไร หรือทำบุญอะไรจะได้ผลตอบแทนแบบไหน หรือไม่ก็ขอพรทับไปเลยอย่างที่อธิบายไปแล้ว ถ้าจิตศรัทธาคือสร้างระฆังถวายวัด เพราะคิดว่าวัดนี้ขาดแคลน คงจะเป็นประโยชน์แก่พระภิกษุสงฆ์ในการบอกเวลาพระลูกวัดโดยแท้ จิตใจอิ่มเอม มีความสุข มีความสบายใจที่ได้ทำ และอยากให้คนร่วมรับรู้ในความสบายใจนี้ด้วย จึงประกาศชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญกับเรา แบบนี้ได้รับบุญทั้งในส่วนของทานมัย และปัตติทานมัยไปพร้อมกัน ความสุขสบายใจมันจะคงอยู่กับเราตลอดไป บุญก็คือสิ่งนั้นเช่นกันครับ

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๕ การช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๕. การช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น หรือ “ไวยาวัจจมัย” การช่วยอย่างเต็มใจไม่ได้หวังผลตอบแทน เช่น ช่วยเพื่อนบ้านดูแลบ้านในเวลาที่เขาไม่อยู่ หรือช่วยเพื่อนทำงานให้เสร็จทันเวลา เพื่อไปร่วมกันทำประโยชน์ให้สังคม การเสียสละตนเองเพื่อส่วนรวมแบบนี้ก็ได้ บางคนก็มุ่งไปที่วัด ไปล้างห้องน้ำวัด ไปกวาดลานวัดให้มันสะอาดตา เวลาคนมาไหว้พระจะได้ชื่นใจ แบบนั้นก็ทำได้เช่นกัน มีกิจกรรมมากมายครับให้เราทำแล้วมีความสุขไปกับมัน เปิดใจได้ เท่ากับเปิดรับบุญ

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๔ การอ่อนน้อมถ่อมตน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       บุญ ๔. การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ “อปจายนมัย” ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยกระทำต่อผู้ใหญ่ หรือการที่ผู้ใหญ่เมตตาผู้น้อย ไม่ทำตัวเป็นคนพาล ไม่ทำตัวหยิ่งยโส เป็นคนสุภาพอ่อนโยน หรือการให้เกียรติผู้อื่น เช่นนี้แล้วก็เป็นความสุข เป็นความอิ่มเอมอย่างหนึ่งได้เหมือนกัน และเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นกิจวัตร ทำให้บ่อย ปรับสภาวะอารมณ์ตัวเอง ปรับชีวิตตัวเอง เหมือนที่พระพุทธเจ้าบอกว่า “ไม่มักโกรธง่าย ไม่มักแค้นใจ ถูกว่าเล็กน้อยก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ” ดังนั้นต้องปรับที่ใจเรา ทุกวันที่เราต้องเจอผู้คนมากมาย ทำชีวิตให้มีความสุข ความอิ่มเอมใจ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นได้ เท่ากับเราได้บุญในส่วนนี้

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๓ การเจริญภาวนา โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๓. การเจริญภาวนา หรือ “ภาวนามัย” ตามหลักปฏิบัติมีมากถึง ๔๐ วิธี แต่ที่นิยมคือสมถภาวนา คือการเข้าสู่สมาธิแล้วภาวนาพุทโธ หรือสวดมนต์บทสั้น ๆ เพื่อรวมพลังสมาธิและเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระรัตนตรัย ในความเป็นจริงแล้ว ภาวนาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างประณีต คำว่า “ภาวนา” แปลว่า การเจริญ การทำให้มีขึ้น พัฒนาขึ้น เกิดขึ้นในจิตใจ สำรวมเพื่อให้เกิดสมาธิและปัญญา สามารถแบ่งออกเป็น “กายภาวนา” คือการทำให้ร่างกายเจริญขึ้น หรือพัฒนาขึ้น มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ “ศีลภาวนา” การพัฒนาความประพฤติด้วยการกระทำและคำพูดโดยใช้หลักศีล ๕ ที่กล่าวไปแล้ว “จิตตภาวนา” คือการพัฒนาจิตใจตนเอง และ “ปัญญาภาวนา” คือการพัฒนาปัญญา ในส่วนของการปฏิบัติ ก็จะถูกแบ่งเป็น ๒ รูปแบบ คือ “สมถภาวนา” คือการอบรมจิตใจให้สงบ หรือที่หลายคนเคยได้ยินคำว่าสมถกรรมฐาน และ “วิปัสสนาภาวนา” หรือการอบรมปัญญาให้เกิด หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า สิ่งที่ผู้เขียนอธิบายในข้อ ๒. เรื่องการรักษาศีล ก็มีส่วนเชื่อมโยงกับ “กายภาวนา” และ “ศีลภาวนา” ควรฝึกปฏิบัติสองสิ่งนี้ไปพร้อมกัน สมาทานให้บ่อย จดจำให้ได้ขึ้นใจ ทำอะไรก็สามารถดึงสติกลับมาที่ศีลได้ พอก้าวข้ามระดั...

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๒ การรักษาศิล โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  บุญ ๒. การรักษาศีล หรือ “สีลมัย” เป็นการสำรวมกาย วาจา ใจ ในห้วงเวลาหนึ่ง หรือทุกห้วงเวลาได้ยิ่งดี เพื่อเป็นการฝึกฝนร่างกาย และจิตใจของตนเอง ศีลพื้นฐานของมนุษย์มี ๕ ข้อ เป็นสิ่งที่ควรรักษาไว้ หากในชีวิตจำเป็นที่จะต้องผิดในข้อใด ก็ขอให้รักษาข้ออื่นไว้ให้มั่น และวันไหนว่าง อาจจะวันพระ วันหยุด ก็ให้ลองสมาทาน (รับเอา, ถือเอามาปฏิบัติ) รักษาศีลข้อที่บกพร่อง แล้วรักษาให้ได้สักวัน ทำบ่อย ๆ ในวันที่ทำได้ หรือจะใช้วิถีปฏิบัติจากพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่ท่านกล่าวว่า ก่อนนอนก็สมาธานศีลไว้ แล้วพักผ่อน เพราะเวลานอน คนเราไม่ผิดศีลเป็นแน่ แบบนั้นก็เป็นกุศโลบายที่ดี ในความจริงท่านต้องการให้เราฝึกสมาทานศีลให้ขึ้นใจครับ บางคนยังจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าศีล ๕ ข้อมีอะไรบ้าง บอกเลยนะครับว่า “ศีล” หรือข้อปฏิบัติทางกายและวาจาให้ถูกต้องตามหลักศาสนานั้น เป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นการขัดเกลาจิต ย้ำเตือนตนเองว่า “ชีวิตคนเราควรมีศีล ๕ เป็นพื้นฐานนะ” สมาทานบ่อย ก็เท่ากับได้คิดตามบ่อย เขาเรียกว่าจิตมันจะเกลาตัวเอง สักวันหนึ่งที่เราปฏิเสธการกระทำผิดศีลได้ เราก็จะสบายใจ และยกระดับจิตใจได้เอง บางคนกลัวว...

หลักการสร้างบุญกุศล ทั้ง ๑๐ ประการ บุญที่๑ การให้ทาน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       บุญ ๑. การให้ทาน หรือ “ทานมัย” เป็นการสละเพื่อแบ่งปัน ซึ่งผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีคุณความดีแฝงอยู่ด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นพระสงฆ์เสมอไป ใครก็ได้ แต่ทั้งผู้ให้และผู้รับ ต้องบริสุทธิ์ใจในทานนั้น ในเรื่องของการทำทานที่ต้องทำความรู้จักลำดับแรก เพราะเป็นทานที่นิยมทำกันมาก นั่นก็คือ “อามิสทาน” หรือ การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน หมายรวมถึงปัจจัย ๔ หรือ ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ เครื่องหอม ที่พักอาศัย ประทีปโคมไฟ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่คนจะเข้าใจว่า ก็คือการใส่บาตรพระสงฆ์ หรือถวายสังฆทานเท่านั้น ซึ่งจริงแล้วจำแนกทานในข้อนี้ แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ทาสะทาน หมายถึง การให้ของที่ด้อยกว่าของที่ตัวเองบริโภคใช้สอย เช่น เลือกที่ชอบไว้ ที่ไม่ชอบ หรือเล็กกว่า หรือมีตำหนิ เอาไปให้ทานผู้อื่น แบบนี้เรียกว่าใจตกเป็นทาสของความตระหนี่ (ขี้งก) เหมือนให้ของคนที่เป็นข้าทาสบริวาร สหายทาน หมายถึง การให้ของที่เสมอตัวเอง ตัวเองกินตัวเองใช้อย่างไร ก็ให้ทานเหมือนกับที่กินที่ใช้ เขาเลยเปรียบเหมือนการให้ญาติสนิทมิตรสหาย สามีทาน หมายถึง การให้ทานที่จัดเตรียมอย่างประณีตกว่าของที่ตัวเองกินตัวเองใช...

การใช้ “บุญ” สินทรัพย์ทางธรรมดึงดูด “เงิน” ทรัพย์สินทางโลก โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       กิจกรรมใดบ้างที่ประกอบขึ้นแล้วเกิดเป็นบุญกุศล เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ เพราะบุญในทางพุทธศาสนา เป็นต้นทุนสำคัญที่ทำให้เรามาเกิดในภพชาตินี้ แล้วบุญเหล่านี้เราจะสร้างเพิ่มได้อย่างไร เพราะหลักการใช้กฎแรงดึงดูดทางธรรมและทางโลกนั้น มีความเป็นไปได้สูง แต่ไม่ได้เกิดจากการท่องบ่นเพียงอย่างเดียว อย่างที่พูดไปหลายครั้ง สิ่งที่ผู้เขียนทำมาตลอดและเห็นผลชัดเจนก็คือ เมื่อเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมใดที่เป็นบุญแล้วจะเกิดพลังบวกจากภายในเสมอ ใจมันจะฟู ร่างกายมันจะสดชื่น ถึงแม้จะอยู่ในที่ ที่อากาศร้อนอบอ้าว แต่เรากลับรู้สึกสบายใจ ภูมิใจ และมีกำลังใจ สิ่งเหล่านี้มันเป็นแรงผลักดันที่ดีจริงครับ ยิ่งห้วงที่ได้ไปภาวนาที่ต่าง ๆ บ่อย ครั้ง ก็ยิ่งมีความสุข พอจิตปฏิพัทธ์โดยธรรม ก็มักจะนำผลลัพธ์ที่ดีมาสู่ตัวผู้เขียนเสมอ เช่น ขายของคล่องขึ้น มีโอกาสที่ดี มีคนช่วยเหลือ หรือสนับสนุนในบางเรื่อง มีเมตตาคนเห็นคนรักใคร่เอ็นดู เป็นแรงดึงดูดที่ดีหลายประการทีเดียว แต่นี้เป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัว ถ้าคุณอยากรู้ หรืออยากพิสูจน์ก็ต้องลองทำด้วยตัวคุณเอง และในส่วนของหัวข้อนี้ เราจะเลี่ยงการพิจารณาผลบุญ ...

การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เทวดาก่อนขอพร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       กลับมาต่อกันที่เรื่องของการอุทิศให้ผู้ล่วงลับ หรือเทวดาองค์ใด หรือดวงจิตใดก็ตาม ก็ต้องทำคือ บอกกล่าวเขาด้วยว่า “เออ ... คุณมาอนุโมทนาบุญเอานะ” หรือว่า “เชิญท่านมาร่วมอนุโมทนาบุญนะ” เพราะเมื่อเขาได้ยินได้ฟังแล้วยินดีในบุญ และร่วมอนุโมทนาบุญกับเรา อานิสงส์ส่วนนี้จะเกิดขึ้น ในส่วนของแนวทางการกล่าวคำอธิษฐานนั้นอย่างที่ผู้เขียนบอกว่า ไม่มีกฎตายตัว ไม่ต้องกลัวว่าจะพูดผิดพูดถูก หรือจะคัดลอกตรงนี้ไปใช้ได้เลย ตัวอย่างเช่น “ฉันขออุทิศบุญกุศลจากการถวายเงิน ๑๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าน้ำค่าไฟให้แก่วัด .... ในครั้งนั้น/ครั้งนี้ จงสำเร็จถึงเทวดาอารักษ์ทั้งหลายในเขตบริเวณวัด...(ชื่อวัดอะไรก็ว่าไป) แห่งนี้ และญาติผู้ล่วงลับ.....(แล้วแต่จะกล่าว) ขอให้ท่านทั้งหลายพึงร่วมอนุโมทนาในบุญกุศลที่ฉันตั้งใจทำดังกล่าวนี้ด้วยเถิด” ในการกล่าวคำอธิษฐานนี้ สำคัญที่เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ทุกสิ่งที่เราพูดเราต้องคิดตามอย่างมีสติ ผู้เขียนให้แนวทาง การตัดสินใจปฏิบัติขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง รวมถึงการพิสูจน์ทราบ คุณก็จะได้รับ หรือรู้ด้วยตัวคุณเองเช่นเดียวกันครับ และดังเช่นที่ยกตัวอย่างเรื่องบุญกับเท...

ก่อนขอพรอะไรกับเทวดาต้องพิจารณาให้ได้แบบนี้ก่อน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจแยกส่วนกันให้ชัดเจนเสียก่อนนะครับว่า ความเชื่อในเรื่องของการขอพรต่อเทวดาอารักษ์ในแบบไทยพุทธ ที่อยู่ประจำไม่ว่าจะพระพุทธรูป เทวรูป หรือแม้กระทั่งรูปเคารพอื่นใดก็ตาม รุกขเทวา รุกขเทวีผู้สถิตตามต้นไม้ใหญ่ เพราะต้นไม้ใหญ่ตามธรรมชาติ สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของเทวดาได้ เพราะประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธาตุกำเนิด เทวดาเหล่าใดที่เฝ้าดูแลพุทธสถาน ที่เรามักเห็นรูปแกะสลักเทวดา หรือเทวรูปพนมมือตามวัดวาอาราม หรือถูกอัญเชิญให้เฝ้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใดก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้ว เทวดาเหล่าใดที่สถิตเบื้องล่าง ยังเป็นเทวดาผู้มีกำลังบุญน้อย และกำลังบุญมากปะปนกันไป ยังคงมีกิเลสปะปน ยังคงอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมอันดีงาม เทวดาเหล่านี้จะชื่นชอบติดตามมนุษย์ผู้มีศีลธรรม เทวดาเหล่านี้จะมีกำลังช่วยเหลือมนุษย์ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นนิจ สวดมนต์เป็นกิจวัตร หากบ้านของใครมีพระพุทธรูป แน่นอนว่าการปฏิบัติจริยวัตรที่ดีงามสม่ำเสมอเทวดาเหล่านั้นจะเฝ้าพิทักษ์รักษาเรา เหตุเพราะเราเป็นต้นบุญของเขา เป็นผู้เติมแสงเทียนให้แก่เขา ถ้าบ้านไหนไม่หมั่นเพียร หรือไม่ทำควา...

การอธิษฐานขณะทำบุญแล้วจะได้รับผลบุญเต็มร้อย? โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       โดยที่ก่อนการขอพร เราก็ต้องมาเรียนรู้เรื่องการอุทิศบุญกุศลอย่างเป็นระเบียบตามแนวความเชื่อกันเสียก่อน อุทิศอย่างไร บุญที่ทำจะลดจะมาก หรือเบาบาง หรือเพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะหลักสำคัญของการขอพรกับเหล่าเทวดาเบื้องล่างนั้นสำคัญ (สามารถอ่านได้ในหัวข้อ “ความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี”) อุทิศแล้วจึงขอพร เพิ่มโอกาสสำเร็จโดยหลักแนวคิดเรื่องของพลัง การเพิ่มพลังให้ตนเองและเทวดา เมื่อเทวดามีกำลังมาก พรที่เราจะได้สมหวังก็มีโอกาสมากขึ้นตามไปนั่นเอง รวมไปถึงข้อคิดเกี่ยวกับเทพพราหมณ์-ฮินดู ตามหลักความเชื่อของศาสนาดั้งเดิมก็แถมมาให้อ่านและทำความเข้าใจกัน หลายคนในเมืองไทยยังบูชาผิดหลักศาสนา ปะปนกันจนสับสนแยกไม่ออก เหล่าผีเจ้าเข้าทรงก็สร้างความบิดเบือน จนทำให้เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่ เรามาไล่ลำดับกันไปทีละเรื่องครับ เริ่มจากการทำบุญแบบแมนนวลกันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ กล่าวกันว่า การที่เราชาวพุทธจะทำอะไร สติเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ การดำเนินชีวิตด้วยสติจึงเป็นส่วนหลักในการที่เราจะไม่ประมาท จะไม่พลาด ด้วยเหตุนี้ เราควรฝึกการเจริญสติในแบบชีวิตปร...

ศาสนาพุทธกับความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       สาเหตุแห่งการไม่ปฏิเสธความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี เหตุเพราะมีการกล่าวถึง หรือสอดแทรกในพุทธประวัติมากมายหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่อง บทบาทของเทวดาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โดยแม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ปี พ.ศ.๒๕๖๖ กล่าวว่า “เทวดาในพระไตรปิฎกสถิตในสวรรค์ ๒๖ ชั้น คือ เทวดากามาวจร ๖ ชั้น อยู่ได้ด้วยอาหารทิพย์ รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น อยู่ได้ด้วยฌานสมาบัติ หลักธรรมของเทวดาคือโลกปาลธรรม สุจริตธรรม สัมปทา วัตตบท สัปปุริสธรรม อริยทรัพย์ บุญกิริยาวัตถุ เทวดามีบทบาทในการดำรงตนอยู่ในเทวธรรม จอมเทพมีหน้าที่ปกครองเทวดาบริวาร และอารักขามนุษย์ผู้บำเพ็ญสมณธรรม และช่วยเหลือมนุษย์ที่ยากจนแต่มุ่งทำความดี” จากแนวคิดดังกล่าวเหล่านี้ เราจึงพอที่จะสรุปได้ว่า พุทธศาสนาในไทยไม่เคยปฏิเสธการมีอยู่ของเทวดาอารักษ์ แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงถึงเหล่ามหาเทพ หรือมหาเทวีในรูปแบบคติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู หรืออาจจะมีอ้างอิงกันบ้างในนิกายตันตระที่พอจะพบบันทึกแต่ก็เป็นยุคหลัง ไม่ใช่สมัยพุทธกาล จึงไม่สามารถนำมาอ้างอิงเชื่อถือได...

วิธีการขอพรต่อเทวดาให้เกิดผลสำเร็จ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       การขอพรกับบุญที่เราทำ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมน้อยกว่า ถ้าหากบริเวณนั้นมีเทวดา หรือมีดวงจิตที่ปฏิพัทธ์ (ผูกพัน รักใคร่) ต่อเราอยู่ ก็อาจจะเป็นไปได้ครับ ที่เขาจะช่วยอวยพรให้เกิดความสำเร็จ แต่หากเขาไม่ชอบใจเรา จากพรก็จะกลายเป็นไม่ได้อะไรเลย ผู้เขียนจึงแนะนำว่า กราบไหว้สิ่งใด จะขอพรกับใคร เอาเป็นสถานที่ หรือเอาเป็นพิกัดเดียว และเอาเป็นที่ ที่ ไปนะครับ ถ้าอุทิศบุญกุศลที่วัดนี้ ก็ขอพรกับเทวดาในวัดนี้ และบอกกล่าวเขาให้ครบถ้วน ให้เขาเมตตา ถ้าเขาช่วยได้เขาช่วยแน่นอน ตรงนี้มันก็ต้องดูว่า แสงเทียนแห่งบุญของเราเพียงพอที่จะสะกดผลกรรมที่เราต้องรับมากน้อยเพียงใดด้วยนะครับ บางคนกรรมหนักมีผลที่ต้องรับหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ต้องชดใช้ในส่วนนั้น แต่แนะนำว่าอย่าหยุดสร้างบุญ เพราะยิ่งเราหมดสิ้นเวรกรรมได้เร็วเท่าใด หรือผ่านพ้นวิบากกรรมได้มากแค่ไหน แสงเทียนแห่งบุญจะอุ้มชูเราอย่างดียิ่งเลยทีเดียวครับ ต่อมาเป็นวิธีกล่าวขอพร เราจะทำก็ตอนก่อนกราบลาพระ หรือลาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น ก่อนจะกราบสามครั้งก็ให้กล่าวคำขอพรติดตัวกลับบ้านเพื่อเป็นพลังบวกให้กับตัวเอง โดยยกตัวอย่างคำอธิษฐานดังนี้ว่า “...

ความเชื่อเรื่องเทวดาประจำองค์พระมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
     ว่ากันต่อด้วยเรื่องเทวดาประจำพระพุทธรูปนะครับ กับพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธรูป ตามความเชื่อแบบพุทธผสมพราหมณ์ ว่าจะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธานุภาพด้วยอำนาจพุทธคุณ จากการสืบค้นไม่พบว่าพิธีพุทธาภิเษกเริ่มต้นเมื่อใดชัดเจน ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และการออกแบบพิธีกรรมเพื่อให้สอดรับกับความเชื่อของศาสนิกชน โดยการสาธยายพุทธมนต์เพื่อให้ดูขลังมากยิ่งขึ้น มุมมองนี้จึงคล้ายกับพิธีกรรมและความเชื่อ และการสร้างรูปเคารพในเชิงไสยศาสตร์อยู่พอสมควร (คำว่าไสยศาสตร์ คือวิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่มีการสืบค้นว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะคัมภีร์อถรรพเวท การบริกรรมคาถา การลงเลขยันต์ เป็นต้น)      และเมื่อใดที่มีการจัดสร้างสังขารที่ครบอาการ ๓๒ สื่อความหมายในเชิงไสยศาสตร์หมายถึง รูปลักษณะคล้ายมนุษย์คือ ตา หู จมูก ปาก กาย ฯลฯ และการตั้งธาตุหนุนธาตุ ก็เพื่อจำลองธาตุทั้ง ๔ ที่ประกอบเป็นสังขาร และคำว่าสังขารก็คือร่างกาย เป็นรูปที่เปรียบเสมือนบุคคล เมื่อนั้น สังขารนั้นจะเป็นที่อยู่ของเทวดาเบื้องล่าง หรือถ้าเป็นสังขารในกลุ่มตุ๊กตารูปปั...

พระพุทธรูปไม่ใช่ที่สถิตดวงจิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       สายมูที่ไปตามวัดดังเพราะเชื่อในพลังศักดิ์สิทธิ์ มีจุดยึดเหนี่ยวมาจากอะไร ลองคิดตามนะครับ ทุกวันนี้เรากราบพระพุทธรูป เพราะเราเชื่อถึงการมีอยู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระพุทธรูปใช่หรือไม่ เรากราบพระ เพราะเรามั่นใจว่าในพระพุทธรูปก็คือดวงจิต หรือดวงวิญญาณของพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ หากคำตอบคือ ”ใช่” เราคงต้องทบทวนพิจารณาใหม่ว่า มันอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดหรือเปล่า เพราะมันย้อนแย้งระหว่างเรื่องการดับขันธปรินิพพานโดยสิ้นเชิง ข้อสันนิษฐานที่ดีที่สุดคือ ภายในพระพุทธรูปไม่ใช่ดวงจิตของพระพุทธเจ้า หากแต่ว่ากันตามความเชื่อที่ผู้เขียนค้นคว้าศึกษามาจากตำราโบราณเกี่ยวกับเรื่องของการตั้งสังขาร ภายในคือดวงจิตของเทวดาผู้มีบุญหรือกรรมสัมพันธ์ในการจัดสร้างพระพุทธรูปนั้น และนั่นต่างหากที่สถิตอยู่ เป็นแนวคิดที่ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมบทสวดบูชาแต่ละองค์พระจึงแตกต่างกัน และมีความหมายแฝงเชิงขอพรสอดแทรกเข้าไปให้พร้อม อย่างที่เราคุยกันไปแล้วในหัวเรื่องก่อนหน้าที่ว่า “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต” ข้าพเจ้าบูชาพระพุทธ ขอให้ข้าพเจ้ามีเดช หรือมีอำนาจมาก นั่นก็คือการสวดเพื่อบอกกล่าวเทวดาในเทวรูปว่า เราทำอะไร ...

การทำบุญกับการขอพร เป็นคนละเรื่อง หนังคนละม้วน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       ในหัวข้อนี้อยากให้เข้าใจก่อนครับว่า บุญ กับ ขอพร เป็นคนละส่วนกัน บางคนเชื่อบทความในอินเทอร์เน็ตเช่น “หยอดเงินใส่ตู้แล้วให้รีบอธิษฐานขอพรเลยนะ เดี๋ยวแสงบุญจะพุ่งขึ้นไปเสียก่อน เราต้องรีบเก็บบุญให้ทัน” เสมือนบุญเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่หากเก็บไม่ทันจะพุ่งขึ้นฟ้า แล้วไปรอให้เราใช้ชาติหน้า ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง และถึงกับต้องนั่งเกาหัว เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยคำนวณบุญสักทีว่า มันควรจะเทียบเป็นค่าเงินบาทได้เท่าไหร่ หรือบุญมีอัตราแลกเปลี่ยนมากน้อยเท่าใดในสัมปรายภพ เพราะมันไม่มีประโยชน์กับชีวิตประจำวันเลยจริง ๆ ดังนั้น สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดคือ การที่ทำบุญไปแล้ว เราได้รับความรู้สึกอะไร อิ่มเอมแค่ไหน เรามีความสุขที่ได้ทำมากแค่ไหน บางคนไปกับเพื่อน อยากให้เครดิตตัวเองดูดีดูแพงกว่าเพื่อน งั้นใส่สักพันนึงแล้วกัน เกทับไปเลย พอคิดว่าใส่เงินเยอะ ก็ต้องได้พรดี ๆ จึงบรรเลงการขอพรพระอย่างพิถีพิถัน ขอนั่น ขอนี่ ขอเยอะแยะไปหมด สับสนในการทำทานยังไม่พอ ยังสับสนใจการขอพรเข้าไปอีก เละเทะไปหมด เราลองมาจับหลักการแบบนี้นะครับ อาจจะพอให้สายมูทั้งหลายเห็นภาพมากขึ้น และเข้าใจ...