การทำบุญกับการขอพร เป็นคนละเรื่อง หนังคนละม้วน โดย อ.ไป๋ล่ง
ในหัวข้อนี้อยากให้เข้าใจก่อนครับว่า บุญ กับ ขอพร เป็นคนละส่วนกัน บางคนเชื่อบทความในอินเทอร์เน็ตเช่น “หยอดเงินใส่ตู้แล้วให้รีบอธิษฐานขอพรเลยนะ เดี๋ยวแสงบุญจะพุ่งขึ้นไปเสียก่อน เราต้องรีบเก็บบุญให้ทัน” เสมือนบุญเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่หากเก็บไม่ทันจะพุ่งขึ้นฟ้า แล้วไปรอให้เราใช้ชาติหน้า ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง และถึงกับต้องนั่งเกาหัว เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยคำนวณบุญสักทีว่า มันควรจะเทียบเป็นค่าเงินบาทได้เท่าไหร่ หรือบุญมีอัตราแลกเปลี่ยนมากน้อยเท่าใดในสัมปรายภพ เพราะมันไม่มีประโยชน์กับชีวิตประจำวันเลยจริง ๆ ดังนั้น สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดคือ การที่ทำบุญไปแล้ว เราได้รับความรู้สึกอะไร อิ่มเอมแค่ไหน เรามีความสุขที่ได้ทำมากแค่ไหน บางคนไปกับเพื่อน อยากให้เครดิตตัวเองดูดีดูแพงกว่าเพื่อน งั้นใส่สักพันนึงแล้วกัน เกทับไปเลย พอคิดว่าใส่เงินเยอะ ก็ต้องได้พรดี ๆ จึงบรรเลงการขอพรพระอย่างพิถีพิถัน ขอนั่น ขอนี่ ขอเยอะแยะไปหมด สับสนในการทำทานยังไม่พอ ยังสับสนใจการขอพรเข้าไปอีก เละเทะไปหมด
เราลองมาจับหลักการแบบนี้นะครับ อาจจะพอให้สายมูทั้งหลายเห็นภาพมากขึ้น และเข้าใจบริบทของการทำบุญได้มากพอ
๑.) เวลาทำบุญ หรือจะปฏิบัติดีในส่วนใดตามแนวทางแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ก็ตาม (มีอธิบายในเนื้อหาถัดไป) ให้ทำจิตให้ว่าง ให้เอาใจใส่กับบุญที่ทำให้มาก ไม่ต้องห่วงเรื่องพร เพราะบุญนั้นติดตัวเราทั้งในภพนี้ ภพหน้า หรือตามมาจากภพอดีต
๒.) ถ้าเราอยากขอพร แนะนำให้ขอพรกับเทวดาประจำวัด, เทวดาประจำเทวรูป, เทวดาประจำโบสถ์ วิหาร (รูปปั้นเทวดารอบ ๆ โบสถ์วิหารล้วนมีจิตวิญญาณแห่งเทวดาเบื้องล่างประจำอยู่ทั้งสิ้น), เทวดาประจำพระธาตุเจดีย์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (เพราะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีการอัญเชิญเทวดาในพิธีพุทธาภิเษกเสมอ) หรือจะเป็นเทวดาหมู่ใดที่สถิตที่รูปปั้นพระพุทธในบ้านของเรา หรือเทวรูปในบ้านของเราก็สามารถทำได้ ถามว่าการขอพรขัดต่อหลักคำสอนทางศาสนาหรือไม่ ก็แน่นอนครับว่า “ใช่” พระพุทธองค์ไม่ส่งเสริม แต่ในทางการดำเนินชีวิตเชื่อเถอะว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรอบคอบและทบทวนกัน ดังนั้น “ถ้าจะขอพร ให้ขอนอกรอบ
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น