หนทางสู่ความสำเร็จในชีวิต ด้วยแนวทางปฏิบัติที่พิสูจน์ได้ โดย อ.ไป๋ล่ง
เคยได้ยินทฤษฎีเรื่อง “กฎแห่งแรงดึงดูด” หรือ Law of Attraction ไหมครับ หลักปรัชญาที่ถูกกล่าวถึงมากตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ตามหลักความคิดที่ว่า การคิดดี จะดึงดูดผลลัพธ์เชิงบวกมาสู่ตัวเสมอ และความคิดลบ จะดึงดูดผลลัพธ์เชิงลบมาสู่ตัวเช่นเดียวกัน โดยเชื่อว่าความคิดเป็นเสมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้โดยพลังงานเชิงบวก หรือความคิดบวก จะสามารถดึงดูดความสำเร็จ โชคลาภ เงินทอง สุขภาพ และโอกาส วาสนาที่ดีมาสู่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน ซึ่งกฎ Law of Attraction จะมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
๑. สิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกัน (Like attracts like) จะดึงดูดกันเอง เช่น คนดีดึงดูดคนดี ความคิดดี ดึงดูดคนที่คิดดีเหมือนกัน คล้ายกับว่า ถ้าเราอยากเจอคนที่ดี เราก็ต้องประพฤติตนเองให้ดีเสียก่อน ประมาณนั้น
๒. สุญญากาศเป็นที่น่ารังเกียจของธรรมชาติ (Nature abhors a vacuum) คล้ายกับการกำจัดสิ่งที่ว่างเปล่า หรือไร้ประโยชน์ออกไปจากชีวิต เพิ่มพื้นที่ที่จะบรรจุความคิดดี ๆ ลงไป หรืออีกนัยก็คือ ไม่ปล่อยให้สมองว่างเปล่า คิดหาลู่ทางและโอกาสให้ตัวเองตลอดเวลา และสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นต้องมีพื้นฐานอยู่บนคำว่า คิดดี
๓. ปัจจุบันสมบูรณ์แบบอยู่เสมอ (The present is always perfect) ชีวิตคนเรามักจะมีสิ่งที่ไม่สมบูรณ์อยู่เสมอ ถ้าเราจมปลักอยู่กับมัน หรือพยายามค้นหามัน จงก้าวข้ามสิ่งที่ผิดพลาด และมุ่งแสวงหาวิธีที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดี สร้างแรงดึงดูดด้วยตัวคุณเอง
และนี่เป็นแนวคิดในการสร้างพลังบวก สร้างโอกาส สร้างความสำเร็จให้ตนเองด้วยทฤษฎีกฎแห่งแรงดึงดูดในแบบชาวยุโรป ถ้าใครอยากพิสูจน์เรื่องนี้ก็สามารถทำได้ด้วยตนเองนะครับ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ทฤษฎีนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้คำนิยามที่ว่า “เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน” ด้วยหรือเปล่า อาจจะมีแนวโน้มเป็นทักษะต่อยอดกันมาจากนักคิด นักเขียน ที่มีแนวทางคล้ายกันนะครับ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ระบบการคิด คิดแบบนั้นอาจส่งผลแย่ ให้เปลี่ยนมาคิดแบบนี้แทน อะไรทำนองนั้น แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว การเปลี่ยนความคิด (mindset) อาจยังไม่เพียงพอที่จะจับอารมณ์ของเราได้ทัน ถ้าจะให้เท่ากับการสวดมนต์และภาวนาแบบง่ายที่ให้ไป น่าจะฝึกให้มีสติ และขัดเกลาจิตได้มากกว่า เพราะเราศึกษากันแต่ทฤษฎี แต่ไม่ได้ฝึกและทดลองปฏิบัติเหมือนธรรมะ การจัดการกับอารมณ์จึงแตกต่างกัน ร่างกายและจิตใจที่ผ่านการฝึก จะจัดการกับอารมณ์ได้ดีกว่าด้วยประสบการณ์ตรงของผู้เขียน และแน่นอนครับว่า ในหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้บอกให้คุณเชื่อ แต่ถ้าคุณอยากจะเชื่อ คุณต้องพิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง ฝึกด้วยตนเอง เห็นผลลัพธ์ด้วยตัวเอง วัดระดับความสุขของตัวเอง วัดระดับการหาหนทางแก้ไขปัญหาทุกอย่างในชีวิตได้ด้วยตนเอง สร้างความร่ำรวยด้วยสติปัญญาของตนเอง นี่คือหัวใจของความสำเร็จ
คิดว่ามันต้องดีต้องได้ โดยไม่ได้ถามใจตัวเองเลยว่า รักที่จะทำมันจริง ๆ หรือเปล่า หรือแค่อยากทำ อยากมีหน้าร้าน เปิดอยู่หลายปีครับ ทั้งเหนื่อย ทั้งสารพัดปัญหา เช่น ของหาย ลูกน้องแบ่งฝักแบ่งฝ่าย อาหารไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน วัตถุดิบไม่คงที่ งานบริการที่ควบคุมยาก และอื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องพบเจอ กลายเป็นแบกภาระ แบกร้านไว้ กำไรตกเดือนละไม่กี่หมื่น แต่ความเหนื่อยความเสี่ยงมีอยู่ตลอดเวลา บางเดือนที่หยุดยาว ขาดทุนเข้าเนื้อก็มี จนสุดท้ายต้องกลับมานั่งทบทวนตัวเอง ว่าเราควรไปต่อ หรือพอแค่นี้ หยุดตอนนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่หยุดจะเป็นอย่างไร ถามตอบตัวเองได้จึงตัดสินใจขายต่อกิจการ ให้คนที่เขามีความชอบ และมีเวลามากกว่าเราได้ดูแลไป และคิดทบทวนว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ได้ทำงานประจำเหมือนสมัยก่อนแล้ว เราชอบที่จะทำอะไร และพุ่งเป้าทำในสิ่งที่รัก บอกได้เลยครับว่าทุกวันนี้มีความสุขกับงานที่ทำมาก ทำได้ไม่เบื่อ และเป็นแบบที่ฝันไว้ ได้ใช้ชีวิตกับธรรมชาติ นั่งทำงานที่เรารัก มันคือความสุขที่แท้จริง ดังนั้น ธรรมในข้อนี้สำคัญที่ เรามีความพอใจ เรามีความรักในสิ่งที่ทำนั้นมากน้อยเพียงใด หากการกำหนดเป้าหมายของคุณไม่เริ่มต้นด้วยความรักความพอใจที่จะทำสิ่งนั้น ผลสำเร็จอาจออกมาได้ไม่ดี หรือไม่ตรงกับที่คาดหวังก็อาจเป็นไปได้
๒. “วิริยะ” ความพากเพียร หรือก็คือความขยันนั่นเองครับ เมื่อเรารักที่จะทำสิ่งใด เราต้องทำสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับถ้าคุณรักการออกแบบเสื้อผ้า คุณต้องขยันที่จะอยู่กับมัน อย่าทิ้งไปทำอย่างอื่นนานเกินไป เพราะเวลากลับมาต่อแล้วมันจะไม่สำเร็จ กำหนดโปรเจคให้ชัด ทำงานให้บรรลุ ในข้อนี้ความจริงแล้วต้องจัดระเบียบและเข้มงวดกับตัวเองให้มาก อย่างเช่นผู้เขียนเป็นนักเขียน แน่นอนว่า ถ้านักเขียนทิ้งงานเขียนนานเกินไป จะไม่สามารถกลับมาต่องานที่ทำได้เต็มที่สมบูรณ์ ดังนั้นการมีสมาธิจดจ่ออย่างตั้งใจ เรียบเรียงให้ละเอียด จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเขียน เพราะข้อผิดพลาดจะมีมาก บางทีตรวจทานแล้วตรวจอีกก็ยังพลาดก็มี จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดเช่นกัน หรือจะเปรียบธรรมข้อนี้กับอาชีพประจำ เช่น พนักงานบัญชีบริษัท ถ้าคุณละซึ่งความเพียร งานของคุณก็จะเสร็จช้า ไม่ตรงตามเป้าหมายองค์กร ถ้าคุณดองเอกสาร ดองงานทิ้งไว้ คุณอาจจะต้องเสียเวลาในวันข้างหน้าที่จะต้องมานั่งเคลียร์มันอย่างเร่งด่วน กลายเป็นชีวิตที่ติดพันกับงานบัญชีจนแกะไม่ออก ปลีกเวลาไปทำอย่างอื่นก็ยาก จะต่อยอด เติมเต็มอะไรให้ชีวิตก็ยาก บางคนต้องการไปสู่จุดสูงสุดของหน้าที่การงาน และสวัสดิการที่มั่นคง เพื่อเป็นฐานทรัพย์ไปสู่ความสำเร็จร่ำรวย หากขาดธรรมข้อนี้เมื่อใด คุณจะไปถึงได้ยาก หรือช้ากว่าคนอื่นแน่นอน ลองมองคนที่เขาประสบความสำเร็จ แล้วสำรวจแนวทางของเขา ว่าเขาเป็นมาอย่างไร เขาต้องขยันแค่ไหนกว่าจะมีทุกวันนี้ เราก็มีสองมือสองเท้าเท่ากับเขา มันก็ไม่ยากที่เราจะทำได้แบบเขา เพียงแต่ติดอยู่ที่ว่า “เราจะทำหรือเปล่าเท่านั้นเอง” หรือปัญญาอีกอย่างของคนหลายคนคือ “เรามีความขยันไม่พอ”
๔. “วิมังสา” การไตร่ตรองและทบทวนด้วยสติ หมายถึงการใช้ปัญญาทบทวนทุกสิ่งที่กระทำ ว่าเป้าหมายของเรา ความขยันของเรา ความมุ่งมั่นของเรา มันสำเร็จผลแล้ว และดำรงอยู่อย่างไร เหมือนเป็นการตรวจสอบผลสำเร็จอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม และทบทวนให้มากขึ้นว่า ตอนนี้ดีอย่างนี้ แล้ววันข้างหน้าจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ พิจารณาให้ครบ โดยหลักการของสิ่งที่ต้องทบทวนนี้ เป็นโอกาสของการสร้างสติ เตือนตนได้ตลอดเวลา ยิ่งทบทวนมาก ยิ่งส่งผลดีในสิ่งที่ทำ แต่ความสำคัญอยู่ที่การทบทวนสิ่งนั้นต้องพึ่งพาหลักธรรม ความถูกต้องเหมาะสม หากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิดทำนองคลองธรรม เราต้องทราบด้วยว่า มันผิดพลาดไปนะ มันไม่ควรเป็นแบบนี้นะ ดังนั้นในการตรวจสอบของเราต้องพึ่งพาสองสิ่งเป็นสำคัญ นั่นคือ “หิริ” และ “โอตตัปปะ” โดยที่ หิริ คือความละอายแก่ใจในขณะที่เรากำลังทำสิ่งที่ไม่ดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ส่วนโอตตัปปะ หมายถึงความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต รู้สึกสำนึกได้ด้วยการที่จะเกิดภัยจากการกระทำความชั่ว ถามว่า เหตุใดจึงต้องนำเอาหลักธรรมทั้งสองข้อนี้มาร่วมพิจารณาการกระทำของตนเอง ก็เพื่อให้เรารู้ได้ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นผิดหรือถูกประการใด ทำให้ใครเดือดร้อนหรือไม่ เพราะบางคนจะมองว่าสิ่งที่ตัวเองรัก สิ่งที่ตัวเองขยัน สิ่งที่ตัวเองเอาใจใส่ฝักใฝ่นั้น เป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่มันอาจจะดีต่อใจตัวเอง และไม่ดีในมุมมองของอารยธรรมอันดีงามก็เป็นได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น