โดยที่ก่อนการขอพร เราก็ต้องมาเรียนรู้เรื่องการอุทิศบุญกุศลอย่างเป็นระเบียบตามแนวความเชื่อกันเสียก่อน อุทิศอย่างไร บุญที่ทำจะลดจะมาก หรือเบาบาง หรือเพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะหลักสำคัญของการขอพรกับเหล่าเทวดาเบื้องล่างนั้นสำคัญ (สามารถอ่านได้ในหัวข้อ “ความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี”) อุทิศแล้วจึงขอพร เพิ่มโอกาสสำเร็จโดยหลักแนวคิดเรื่องของพลัง การเพิ่มพลังให้ตนเองและเทวดา เมื่อเทวดามีกำลังมาก พรที่เราจะได้สมหวังก็มีโอกาสมากขึ้นตามไปนั่นเอง รวมไปถึงข้อคิดเกี่ยวกับเทพพราหมณ์-ฮินดู ตามหลักความเชื่อของศาสนาดั้งเดิมก็แถมมาให้อ่านและทำความเข้าใจกัน หลายคนในเมืองไทยยังบูชาผิดหลักศาสนา ปะปนกันจนสับสนแยกไม่ออก เหล่าผีเจ้าเข้าทรงก็สร้างความบิดเบือน จนทำให้เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่ เรามาไล่ลำดับกันไปทีละเรื่องครับ เริ่มจากการทำบุญแบบแมนนวลกันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ
กล่าวกันว่า การที่เราชาวพุทธจะทำอะไร สติเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ การดำเนินชีวิตด้วยสติจึงเป็นส่วนหลักในการที่เราจะไม่ประมาท จะไม่พลาด ด้วยเหตุนี้ เราควรฝึกการเจริญสติในแบบชีวิตประจำวันให้มาก
เรามาลองยกตัวอย่างการอธิษฐานในขณะทำบุญกันดูนะครับ สมมุติว่า คุณตั้งใจบริจาคเงิน ๑๐๐ บาท เพื่อถวายค่าน้ำค่าไฟให้แก่วัด ก็ให้กล่าวอธิษฐาน โดยจะกล่าวของออกเสียงหรือตั้งจิตมั่นคิดในใจก็ว่าไปครับ เช่นกล่าวว่า “ฉันตั้งใจถวายปัจจัย ๑๐๐ บาท เพื่อถวายเป็นค่าน้ำค่าไฟให้แก่วัด.... แห่งนี้” อธิษฐานเสร็จ หรือพูดจบก็บอกว่า “สาธุ” ให้ตัวเอง เป็นอันจบ ทำเสร็จสิ้นคือจบครับ บุญไม่ได้หายไปไหน ไม่ได้ลอยไปเก็บไว้ในธนาคารสวรรค์ บุญอยู่กับเราเสมอ อยากทำบุญอะไรก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ในการทำ ผมเรียกว่าเป็นการทบทวนบุ สำทับในบุญที่เรากระทำ ให้บุญนั้นสมบูรณ์ ถ้าเปรียบก็เหมือนเรื่องอิทธิบาท ๔ ที่ผมเล่าให้ฟังนั่นแหละครับ ลองนำมาพิจารณาดู ก็จะเห็นได้ว่า “ฉันทะ” ความรัก คือฉันรักการทำบุญ ฉันชอบไปวัด ฉันจะไปวัด “วิริยะ” คือ ฉันขยันที่จะตื่นเช้า อาบน้ำแต่งตัว เตรียมความพร้อม ขยันขับรถ ขยันที่จะเดินตากแดดตากลม ในวัด “จิตตะ” คือ ฉันตั้งจิตมั่น วันนี้จะต้องได้ทำบุญ ตั้งใจแล้วจะไปบริจาคทาน และสุดท้ายคือ
“วิมังสา” การทบทวนในบุญนั้นด้วยสติและปัญญา ซึ่งข้อ “วิมังสา” นี้ก็คือการที่ผู้เขียนแนะแนวให้อธิษฐานนั่นเองครับ แบบนี้ได้บุญจากทานมัย และได้ทบทวนหลักธรรมที่เราน้อมนำปฏิบัติไปด้วย สร้างความปีติ อิ่มเอมใจให้แก่ผู้ทำมากทีเดียว เราไม่จำเป็นต้องหยอดตู้บริจาคแล้ว “สาธุ ขอให้ลูกช้างได้นั่นได้นี่ บลา ๆ ขอลอย ๆ ขอไว้ก่อน ขอกับใครก็ไม่รู้” บางคนก็จะอธิษฐานว่า “ขอให้บุญจากการบริจาคทานวันนี้ ส่งผลให้ลูกร่ำรวย การงานเจริญรุ่งเรือง บลา ๆ” กลายเป็นผู้กำหนดบุญให้ตัวเองไปเสียอย่างนั้น รู้ด้วยนะครับว่า ทำอะไร ได้บุญอะไร ส่งผลอะไร ผลของการทำบุญของตนเอง สามารถประทานพรให้ตนเองได้ นับว่าเป็นผู้วิเศษได้เลยทีเดียว
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง
👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇
👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมูฟรีที่นี่ครับ👇
หรือสั่งซื้อได้ที่
พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น