แนวทางการใช้ชีวิตให้ก้าวสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยโดยเร็ว โดย อ.ไป๋ล่ง
บางครั้งในการดำเนินชีวิตเราอาจจะต้องมีหลักยึดเพื่อให้เห็นผลสำเร็จนะครับ บางคนบ่น บางคนท้อ ว่า “เห้อออ.. ทำเท่าไหร่ก็ไม่รวยสักที” ทั้งที่ชีวิตแต่ละคนมีองค์ประกอบไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่นเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง เป็นลูกสาวของบ้าน มีพี่ชายสองคน และต้องดูแลพ่อกับแม่ ด้วยความที่พี่ชายไม่ขยันเอาการเอางาน จึงกลายเป็นภาระอยู่บ่อยครั้ง และทุกอย่างตกอยู่กับน้องสาวคนเดียว นางก็มักจะบ่นบ่อย ๆ ว่า “ฉันต้องทำยังไงถึงจะรวยสักที” เมื่อเราใช้สติพิจารณา คำถามมันก็อยู่ที่ตัวคำตอบชัดเจนอยู่แล้ว แต่พอเอาเข้าจริงก็ทำไม่ได้ เพราะถูกปลูกฝังมาแบบนี้ “ลูกต้องดูแลครอบครัวนะ, ลูกต้องทำนะ เพราะหวังพึ่งพี่ชายไม่ได้, ลูกต้องเป็นผู้นำนะ ฯลฯ” พอผูกตัวเองไว้กับบ่วงกรรมของทางบ้าน ก็ไม่สามารถเติบโต ไม่สามารถก้าวข้ามไปมีชีวิตที่ดีของตนเองได้ หามาได้เท่าไหร่ก็หมดไปเพราะแรงถลุง และไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ของสมาชิกคนอื่น
เมื่อสำรวจหลักคำสอนในเชิงพุทธ เราก็พอจะยึดเป็นเสาหลักไว้พึ่งพา เพื่อไปสู่ความสำเร็จแห่งการร่ำรวย ลำดับแรกก็ที่คนมักชอบพูดกัน และถูกขนานนามว่า “หัวใจเศรษฐี” คาถายอดฮิต “อุ อา กะ สะ” ในบันทึกคือ “ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์” หรือ “ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔” หมายถึงธรรมที่เป็นประโยชน์ในปัจจุบัน หลักธรรมที่อำนวยความสุขระดับต้น แก่ปุถุชนสามัญที่มองเห็นในภพนี้ชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า คนทั่วไปปรารถนาที่จะมี ทรัพย์สิน ลาภยศ เกียรติ ไมตรี ในความเป็นจริงแล้วธรรมข้อนี้คือแนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นหลักยึดที่ดีเลยทีเดียวครับ แต่จะมีสักกี่คนที่น้อมนำไปปฏิบัติได้บ้าง ทุกวันนี้สิ่งเร้าใจมันเยอะ กระแสสังคม และความเสื่อมโทรมของพุทธศาสนา ทำให้คนห่างไกลวิถีปฏิบัติกันมากขึ้น แต่ถ้าเราสร้างเป้าหมายถึงความร่ำรวย หัวใจเศรษฐี ๔ นี้จะช่วยเปิดทางได้ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า ประโยชน์ ๔ ประการ นั้นมีอะไรบ้าง
๒. อา = อารักขสัมปทา “ความถึงพร้อมด้วยอารักขา” หรือการรักษาไว้ให้ดี คุ้มครองทรัพย์สินของเราไว้ให้ดี ซึ่งปัจจุบันนี้มันตอบโจทย์อยู่แล้วเพราะเรามีธนาคารเก็บเงินฝากที่ปลอดภัย ไม่เหมือนโบราณ แต่หลักธรรมข้อนี้ต่อยอดได้ครับ คือการรักษาทรัพย์ และเปลี่ยนทรัพย์ที่รักษาให้สมดุลกับชีวิต เก็บส่วนหนึ่งไว้ยามจำเป็น กันส่วนหนึ่งไว้ลงทุนในสิ่งที่ตนเองถนัด พอพูดมาถึงตรงนี้หลายคนบอกว่า “โถ ... แค่ผมจะกินให้พอต่อเดือนก็ไม่ไหวแล้ว แทบจะติดลบ จ่ายค่าบัตร ค่าบ้าน ค่ารถ ไหนจะต้องดูแลครอบครัวอีก” ถ้าสถานการณ์ของคุณเป็นแบบนั้น มันก็วนกลับไปที่จุดเริ่มต้นครับ คือ รายรับเกือบไม่พอรายจ่าย ดังนั้น ถ้ามันยังไม่ขาดไม่เกิน เพียงแต่ไม่มีเก็บ คุณก็แค่หาแนวทางสร้างอาชีพเสริม แล้วเรารายได้ส่วนนั้นมาเก็บให้ได้ ต้องทำให้ได้ แบบนี้ก็เข้าข่ายอารักขสัมปทาได้เช่นเดียวกัน เก็บทรัพย์ สะสมทรัพย์ เพิ่มทรัพย์ ข้อนี้มันจะสำคัญตรงที่คุณต้องมีระเบียบมาก ๆ อย่าเถลไถล แล้วก็บอกว่าทำไม่ได้ พยายามแล้ว ตั้งใจแล้ว คุณต้องหาวิธีจัดการสันดานของคุณเองให้ได้ครับ (สันดาน แปลว่า นิสัยใจคอที่มีมาแต่กำเนิด) เช่น เปิดบัญชีที่ไม่มีบัตรกด ไม่มีแอพให้โอน ทำแบบนี้ก็เพื่อบล็อกความเคยตัวของตน ไม่ให้เผลอใช้เงินส่วนเก็บในยามที่ไม่ได้ฉุกเฉินขนาดนั้น มีอะไรง่าย ๆ ก็จะใช้จ่ายง่าย ๆ ถ้าระงับกิเลสไม่ได้ ยิ่งแล้วใหญ่
๓. กะ = กัลยาณมิตตตา “มีกัลยาณมิตร” หรือการเลือกคบคน ข้อนี้สำคัญมากโดยประสบการณ์ของผู้เขียนก็เช่นกัน ถ้าเราพิจารณาดี ๆ เพื่อนสำคัญตั้งแต่วัยเรียน โดยเฉพาะช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ รวมไปถึงสังคมในโรงเรียนนับตั้งแต่มัธยมเป็นต้นมา เป็นส่วนสำคัญมาก และการปลูกฝังแก่บุตรว่า ต้องเลือกคบเพื่อนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอีกเช่นกัน บางคนเลี้ยงลูกไม่สนใจ ปล่อยผ่านไป นานวันเข้า กลายเป็นคนไร้คุณภาพ เพราะมีสังคมเพื่อนที่ดึงไปแต่ทางเสื่อมก็มี ถ้าจะพูดกันในมุมผู้ใหญ่ บางทีเราต้องเลือกที่จะเพิ่มคนที่มีความดีเป็นที่ตั้ง มีจิตมั่นในคุณธรรม ไม่นำไปในทางเสื่อม และขณะเดียวกันต้องตัดเพื่อนที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิตให้ได้ และควรให้หมด (ถ้าอยากจะรวย) จะเก็บไว้เพื่อความบันเทิง คงไม่สำควรสำหรับคนที่มีฐานไม่มาก สายป่านไม่ยาว แต่ครอบครัวที่มีฐานะดีอยู่แล้ว เขาก็สามารถเฮฮาปาร์ตี้กันได้ตามกำลังบุญของเขา เขารวย เขามี ไม่เหมือนเรา บางทีต้องคิดตรึกตรองให้เข้าใจนะครับ ถ้าเรามีแบบเขาโอเค ทำให้สบายใจ แต่จะมีจะจน จะมากจะน้อย หลายคนก็พังเพราะเพื่อนเหลวแหลกมานักต่อนักแล้ว กระทั่งสิ้นเนื้อประดาตัว โดนฟ้องล้มละลายเพราะรักเพื่อน ช่วยเพื่อน ก็มีถมไปนะครับ การมีชีวิตที่ดีได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ศีลจะต้องสว่างไม่บกพร่องขนาดนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นทำความเข้าใน น้อมนำหลักธรรมมาใช้กับชีวิตประจำวัน ก็ใช้วิธีค่อย ๆ ขัดเกลาตนเองไป สนุกได้ เที่ยวได้ หมดเปลืองได้บางเวลา ตามสังคมที่เหมาะสม แต่ประเภทติดกิน ติดเที่ยว ทั้งที่ชีวิตยังติดค่าบัตร ค่าบ้าน ค่ารถ สารพัด แบบนี้จะรวยได้อย่างไร แล้วจะไปบนบาลศาลกล่าวเพื่ออะไรในเมื่อตัวเราเองก็ไม่ได้จริงใจกับตนเองอย่างแท้จริงครับ
๔. สะ = สมชีวิตา “ความเป็นผู้ดำรงชีพอย่างเหมาะสม” หรือเรียกได้ว่า การใช้ชีวิตอย่างเป็นระเบียบ พอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินไป ไม่หลงระเริงยามมีมาก ไม่ไปในทางเสื่อมทรัพย์ เปรียบเสมือนสมการที่ว่า “รายได้จะต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายจะไม่มีสิทธิ์เหนือกว่ารายได้” ตามสูตรนี้ “รายได้ = รายจ่าย + เงินเก็บ” จัดทำบัญชีให้ตัวเองทุกเดือน และแยกประเภทค่าใช้จ่ายไว้ดูความเหมาะสมด้วยตนเองว่า มันมากไป หรือน้อยไป ค่าใช้จ่ายจำเป็น ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลองดูครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น