การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เทวดาก่อนขอพร โดย อ.ไป๋ล่ง
กลับมาต่อกันที่เรื่องของการอุทิศให้ผู้ล่วงลับ หรือเทวดาองค์ใด หรือดวงจิตใดก็ตาม ก็ต้องทำคือ บอกกล่าวเขาด้วยว่า “เออ ... คุณมาอนุโมทนาบุญเอานะ” หรือว่า “เชิญท่านมาร่วมอนุโมทนาบุญนะ” เพราะเมื่อเขาได้ยินได้ฟังแล้วยินดีในบุญ และร่วมอนุโมทนาบุญกับเรา อานิสงส์ส่วนนี้จะเกิดขึ้น ในส่วนของแนวทางการกล่าวคำอธิษฐานนั้นอย่างที่ผู้เขียนบอกว่า ไม่มีกฎตายตัว ไม่ต้องกลัวว่าจะพูดผิดพูดถูก หรือจะคัดลอกตรงนี้ไปใช้ได้เลย ตัวอย่างเช่น “ฉันขออุทิศบุญกุศลจากการถวายเงิน ๑๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าน้ำค่าไฟให้แก่วัด .... ในครั้งนั้น/ครั้งนี้ จงสำเร็จถึงเทวดาอารักษ์ทั้งหลายในเขตบริเวณวัด...(ชื่อวัดอะไรก็ว่าไป) แห่งนี้ และญาติผู้ล่วงลับ.....(แล้วแต่จะกล่าว) ขอให้ท่านทั้งหลายพึงร่วมอนุโมทนาในบุญกุศลที่ฉันตั้งใจทำดังกล่าวนี้ด้วยเถิด” ในการกล่าวคำอธิษฐานนี้ สำคัญที่เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ทุกสิ่งที่เราพูดเราต้องคิดตามอย่างมีสติ ผู้เขียนให้แนวทาง การตัดสินใจปฏิบัติขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง รวมถึงการพิสูจน์ทราบ คุณก็จะได้รับ หรือรู้ด้วยตัวคุณเองเช่นเดียวกันครับ และดังเช่นที่ยกตัวอย่างเรื่องบุญกับเทียนไขไปแล้ว เทวดา หรือดวงจิต ดวงวิญญาณ เขาไม่สามารถปั้นเทียนได้เหมือนมนุษย์อย่างเรา เรา ดังนั้น เปลวเทียนที่ส่องสว่างของเรา ก็จะไปส่องสว่างที่เขาเมื่อเขาอนุโมทนาบุญ เทวดาเหล่านี้มักจะชื่นชม ชื่นชอบผู้ที่หมั่นทำบุญแล้วอุทิศส่วนบุญเผื่อแผ่ไปถึงพวกเขา พวกเขาก็จะมีกำลังขึ้น มีบารมีมากพอที่จะประทานความสำเร็จให้แก่คุณได้ในเวลาต่อมาครับ มีคำกล่าวของบางคนว่า ให้เราบอกอนุญาตในบุญที่เราจะทำในอนาคต คนที่เราอนุญาตเขาจะได้มารับบุญได้ ความคิดนี้ผู้เขียนไม่เห็นด้วยสักเท่าใดนัก เพราะจะมาอนุญาตกันล่วงหน้าไปเลยแบบนี้ ไม่มีการทบทวนบุญ แลดูขี้เกียจเกินไป กระทั่งความเพียรยังทำไม่ได้ อานิสงส์ใดจะเกิดจากบุญเหล่านั้น และเขาจะรับรู้ได้อย่างไร แลดูเป็นวิธีการที่หยาบเกินไป จิตไม่ชักนำ การนำพาไม่เกิดครับ
“สิ่งที่สถิตในองค์พระไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปแล้ว แต่มีสิ่งที่ต่างกันก็คือถ้าเป็นในลักษณะพระโพธิสัตว์ตามแบบมหายาน จะเชื่อว่าท่านเหล่านั้นยังไม่เข้าสู่นิพพาน เพราะพระองค์ต้องการโปรดสัตว์โลกให้พ้นทุกข์เสียก่อน”
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น