บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2024

ปราณ กับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร?

รูปภาพ
       คำว่า “ปราณ “ หรือลมปราณนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะมีการสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่ก่อนพุทธกาล และมีการนำมาใช้ต่อยอดจากการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงที่เรียกว่าสัจธรรมและอริยสัจ 4 ซึ่งในหลักการทางพุทธศาสนาถูกบัญญัติไว้ ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน และการเจริญกรรมฐาน ลักษณะที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือท่านั่งคู้บัลลังก์และการวางมือในรูปแบบมุทรา หรือพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่ใช้ท่วงท่าของธยานมุทรามาเป็นต้นแบบ ดังนั้น หากจะกล่าวว่าปราณวิถีดั้งเดิมของอินเดียโบราณ เป็นต้นแบบการปฏิบัติสมาธิของพุทธศาสนาก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่เป้าหมายของการปฏิบัติฉีกแยกออกไปสู่การบรรลุธรรมนั่นเอง และเมื่อพระสงฆ์หลายรูปดึงเอาบางส่วนของวิธีฝึกลมหายใจแบบเก่า หรือยึดหลักปราณายามะ (Pranayama) มาใช้เพื่อกำหนดการฝึกสมาธิของสำนักสงฆ์บางสำนัก จึงมีการถกเถียงกันถึงเรื่องเทคนิคการปฏิบัติและความเหมาะสม โดยเสียงแตกออกเป็น 2 ฝั่ง ระหว่าง “มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรสามารถปฏิบัติควบคู่กันไปได้” กับ “พระสงฆ์ควรเจริญกรรมฐานเป็นที่ตั้งเดียวเท่านั้น” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เรื่องถกเถียงของศาสนานั้นมีมาตั้งแ...

ต้นกำเนิดการฝึกปราณอย่างไรกันนะ

รูปภาพ
       จากการศึกษาเรื่องการบำเพ็ญตบะฝึกสมาธิของเหล่าผู้ออกบวช หรือจะเป็นผู้นำหมู่บ้านในเชิงจิตวิญญาณของผู้คนยุคโบราณ เพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไป จึงพอให้ค้นพบบันทึกข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ของนักวิชาการพอสมควร และสรุปได้ว่า การปฏิบัติสมาธิหรือการตั้งมั่นแห่งจิตนั้นมีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการรวมกลุ่มสังคมมนุษย์ โดยนักจิตวิทยานาม Matt J. Rossano (2007) นำเสนอว่า “พิธีกรรมในการรวมกลุ่มและทำสมาธิรอบกองไฟ ในช่วงระหว่าง 200,000 ถึง 150,000 ปีที่ผ่านมา      กล่าวกันว่าการปฏิบัติในแบบแผนยุคโบราณ ได้รับการสืบทอดโดยปากต่อปากหลายศตวรรษ ก่อนที่จะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดนั้น สืบค้นได้จากคัมภีร์พระเวทของฮินดูเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล (Sharma, 2015) พุทธศักราชเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 543 ปี ดังนั้น ข้อสันนิษฐานของต้นแบบการฝึกปราณหรือฝึกสมาธิ จึงเกิดขึ้นก่อนพุทธกาลนับพันปี เพราะถึงแม้จะไม่มีหลักฐาน ชี้ชัดว่า ประเทศใด หรือกลุ่มชนใดเป็นผู้เริ่มต้น แต่ก็พอจะมีแนวคิดเพิ่มเติมอีกว่าอาจจะกระจายกันไปตามค่านิยมทางสังคมนักบวช ปราชญ์หมู่บ้าน ...

ที่มาของคำว่า "ปราณ " มาจากไหนกันนะ

รูปภาพ
           ต้นกำเนิดของคำว่า "ปราณ" มีที่มาที่ไปอย่างไร หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า "ปราณายามะ" (Pranayama) ในภาษาสันสกฤต คำนี้จะวนเวียนผูกพันกับเหล่าผู้ฝึกโยคะ ซึ่งหมายถึงการควบคุมลมหายใจ โดยเหล่าผู้ฝึกโยคะจะทราบดีว่า จะต้องทำควบคู่กันไปทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ       วิชาการฝึกแบบโยคะนี้ มีต้นกำเนิดอยู่ในอารยธรรมอินเดียโบราณย้อนไปประมาณ 5,000ปีก่อน จากข้อสันนิฐานของนักประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในคัมภีย์พระเวท เป็นการฝึกฝนเพื่อผสานลมหายใจเข้ากับท่วงท่าต่างๆซึ่งแตกแยกแบ่งสายกันไปตามสำนัก และเชื่อว่ามีการสืบทอดวิชากันมาแบบปากต่อปาก จนกระทั่งท่าน "ปตัญชลี" (Patanjali) เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และได้รวบรวมวิธีการฝึกปฏิบัติไว้ในโยคะสูตร คาดว่ามีชีวิตช่วงราวศตวรรษที่2ก่อนคริสต์ศักราช สืบทอดตำราเก่าแก่มากมาย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันที่แพร่หลายในประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่1 ถูกขนานนามว่า "ฤาษีดัดตน" ก็สันนิฐานได้ว่าท่วงท่ามาจากอาสนะ ในโยคะสูตรอีกเช่นกัน เหตุผลเพราะการที่เหล่าโยคีในอินเดียใช้แก้อาการปวดเมื่อยจากการนั่งสมาธิ ท่วงท่าฤาษีดัดตนจึงเป็นก...

พระพุทธรูปกับพระพิฆเนศวร์ มหาเทพและมหาเทวี วางรวมกันได้หรือไม่ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       สิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงขาดเสียมิได้ก็คือ หลายบ้านมีโต๊ะหมู่บูชาชุดใหญ่ และจัดวางพระพุทธรูป พระอริยสงฆ์สาวก รวมไปถึงทวยเทพทั้งพุทธทั้งพราหมณ์ปะปนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ถามว่าไม่สมควรเพราะอะไร เหตุผลเดียวที่น่าฟัง ก็คือ เป็นคนละศาสดา และคนละศาสนากันนั่นเองครับ ในศาสนาของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ซึ่งมหาเทพ มหาเทวี ไม่ได้มีบทบาทในการปกป้องหรือคุ้มครองพระศาสนา อย่างที่เคยเอ่ยถึงบ้างว่า อาจจะมีการพยายามผสมผสานหลอมรวมในส่วนของฮินดู และตันตระยาน หรือนิกายที่แตกแยกไปสร้างคติใหม่โจมตีกันไป โจมตีกันมา นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เราควรน้อมนำครับ วิถีปฏิบัติที่ต่างกันของทั้งสองศาสนา การปฏิบัติบูชาย่อมต่างกันตามไปด้วย ตรงส่วนนี้ให้ข้อคิดในการแยกโต๊ะบูชา หรือแยกหิ้งออกจากพระพุทธให้ชัดเจน จะเป็นผลดีต่อการบูชามากกว่า เช่น พระพิฆเนศวร์ พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ ฯ (โดยปกติพระพรหมไม่นิยมบูชาในบ้านอยู่แล้ว) หรือจะเป็นพระแม่ปารวตี พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี หรือหมวดฤาษีต่าง ๆ เหล่านี้สืบเชื้อสายพราหมณ์ - ฮินดู โดยสมบูรณ์ ให้สังเกตว่า ขนาดวัดวาอารามยังสร้างวิหารแยก ยกเว้นบ...