พระพุทธรูปกับพระพิฆเนศวร์ มหาเทพและมหาเทวี วางรวมกันได้หรือไม่ โดย อ.ไป๋ล่ง

 

     สิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงขาดเสียมิได้ก็คือ หลายบ้านมีโต๊ะหมู่บูชาชุดใหญ่ และจัดวางพระพุทธรูป พระอริยสงฆ์สาวก รวมไปถึงทวยเทพทั้งพุทธทั้งพราหมณ์ปะปนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ถามว่าไม่สมควรเพราะอะไร เหตุผลเดียวที่น่าฟัง ก็คือ เป็นคนละศาสดา และคนละศาสนากันนั่นเองครับ ในศาสนาของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ซึ่งมหาเทพ มหาเทวี ไม่ได้มีบทบาทในการปกป้องหรือคุ้มครองพระศาสนา อย่างที่เคยเอ่ยถึงบ้างว่า อาจจะมีการพยายามผสมผสานหลอมรวมในส่วนของฮินดู และตันตระยาน หรือนิกายที่แตกแยกไปสร้างคติใหม่โจมตีกันไป โจมตีกันมา นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เราควรน้อมนำครับ วิถีปฏิบัติที่ต่างกันของทั้งสองศาสนา การปฏิบัติบูชาย่อมต่างกันตามไปด้วย ตรงส่วนนี้ให้ข้อคิดในการแยกโต๊ะบูชา หรือแยกหิ้งออกจากพระพุทธให้ชัดเจน จะเป็นผลดีต่อการบูชามากกว่า เช่น พระพิฆเนศวร์ พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ ฯ (โดยปกติพระพรหมไม่นิยมบูชาในบ้านอยู่แล้ว) หรือจะเป็นพระแม่ปารวตี พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี หรือหมวดฤาษีต่าง ๆ เหล่านี้สืบเชื้อสายพราหมณ์ - ฮินดู โดยสมบูรณ์ ให้สังเกตว่า ขนาดวัดวาอารามยังสร้างวิหารแยก ยกเว้นบางวัดที่จำกัดพื้นที่ อาจตั้งเทวรูป หรือศาลแยก แต่จะมีก็บางวัดที่ผสมกันเละเทะส่วนมากเป็นวัดที่ขาดการทำนุบำรุงเท่านั้นเอง

     ในความเป็นจริงแล้วข้อปฏิบัติที่กล่าวถึงแตกต่างกันอย่างมากครับ หากท่านใดที่ดึงดันจะจัดวางร่วมกัน เพราะคำแนะนำจากอาจารย์ท่านใดก็ตามที่กล่าวว่า “ไว้รวมกันได้คุณ ไม่เป็นไร” หรือ “เทพไว้กับพระได้ ไม่มีปัญหา” ถ้ามีคนพูดแบบนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านคิดตามนะครับว่า หากจะต้องเลือกสิ่งที่เป็นประธาน เราควรเลือกสิ่งใด ระหว่างพระพิฆเนศวร์ อันเป็นปฐมบูชา เป็นอวตารแห่งองค์ปฐมพรหม หรือพระศิวะ พระแม่ปารวตี อันจัดลำดับเป็นมหาศักติผู้สร้างโลกและจักรวาล กับ รูปแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธและเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชน พอกล่าวมาถึงตรงนี้หลายคนก็จะตีความเอาว่า “พระพิฆเนศวร์เป็นแค่เทพ พระพุทธเจ้าเป็นมหาศาสดา ทรงหลุดพ้นจากบ่วงบาป บ่วงกรรมทั้งปวง อยู่สูงกว่าสิ” ผู้เขียนขอแย้งความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ เพราะเราจะเป็นผู้กำหนดสิ่งที่อยู่ก่อนกาลไม่ได้ และในหน้าประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา ก็ไม่เคยพาดพิงพระนามของมหาเทพ มหาเทวีพระองค์ใด มีเพียงศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่กล่าวถึงการอวตาลของพระนารายณ์มาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับอะไร ถึงแม้ว่าจะปรากฏพระนามของมหาเทพ มหาเทวี หรือพระพิฆเนศวร์ในพุทธตำนานสายมหายาน หรือวัชรยานอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดเจนสอดคล้องกับตำนานของฮินดู อีกอย่างคือความเชื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เกิดก่อนศาสนาพุทธมากว่า ๑,๐๐๐ ปี อีกทั้งยังเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือยาวนานเป็นอันดับที่ ๔ ของโลก รองจากคริสต์, อิสลาม และเหล่าเพแกน (ผู้ไร้ศาสนา หรือผู้นอกรีต) ในขณะที่ศาสนาพุทธนั้นอยู่ในลำดับ ๕

     เมื่อทราบที่มาที่ไปแบบนี้ จะทำให้เราเล็งเห็นความสำคัญของวิถีปฏิบัติได้ว่า มหาเทพและมหาเทวีสายพราหมณ์-ฮินดู นั้น มีหลักปฏิบัติแตกต่างกัน หากจะวางไว้ในตำแหน่งเดียวกัน หรือห้องเดียวกันของบ้านก็ควรแยกโต๊ะหมู่บูชาให้ชัดเจน และที่สำคัญ ถ้าบ้านคุณจะนับถือทั้งสองฝ่าย ตำแหน่งสูงสุดของศาสนาพุทธคือพระพุทธรูป และตำแหน่งสูงสุดของพราหมณ์-ฮินดู คือ พระพิฆเนศวร์ เพราะความเชื่อเรื่องของรูปอวตาลแห่งองค์ปรมาตมัน หรืออาตมันสูงสุดอันเป็นต้นกำเนิดที่รวมของทุกสรรพสิ่งหรือทุกอย่างในจักรวาล อีกทั้งพระองค์ยังได้รับพรจากมหาเทพผู้เป็นพระบิดา (พระศิวะ) ให้เป็นปฐมบูชา คือไม่ว่าทวยเทพ หรือมนุษย์ หากจะบูชาผู้ใด หรือทำพิธีอารตีใด จะต้องกล่าวบูชาพระพิฆเนศวร์เป็นเบื้องต้นก่อนเสมอ

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก

หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง

👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇

👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมูฟรีที่นี่ครับ👇
หรือสั่งซื้อได้ที่

พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่


 


ความคิดเห็น

คนชอบอ่าน

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ วานส์” (QUEEN OF WANDS)

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ เพนตาเคิลส์” (QUEEN OF PENTACLES)

ความหมายของไพ่บุคคล คิง ออฟ คัพส์ (KING OF CUPS)

ความหมายของไพ่ "เดอะ เวิลด์" (THE WORLD) สอนอ่านไพ่ยิปซี