บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2025

การหมุนทุกจักระใน 1 รอบฝึก

รูปภาพ
       ในบทความนี้เราจะมาทบทวนการหมุนจักระตั้งแต่การเริ่มฟอกบริหารปอด และเริ่มการหมุนจักระที่7 ไปจักระที่3 ไล่ไปจักระที่ 4,5 และ 2,6 กันนะครับ สำหรับบทความในก่อนหน้านี้ท่านที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ มาฝึกไปพร้อมๆกันนะครับตามวิดิโอประกอบบทความด้านล่างได้เลยครับ (วิดิโอสาธิตการหมุนทุกจักระใน1รอบฝึก)

เทคนิคการหมุนจักระสองและหก สวาธิษฐาน/อาชณะ จักระศักดิ์สิทธิ์และตาที่สาม

รูปภาพ
  ขั้นที่ 5 ฝึกหมุนจักระที่ 2 และ 6      ผู้เขียนให้นิยามการฝึกลำดับนี้ว่า “ฝึกจิตสั่งการ” เพราะอย่างที่ทราบกันแล้วว่า จักระที่ 2 นั้น ถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ด้วยใจของเราเป็นใหญ่ เวลาที่เราต้องการอะไร อยากให้เกิดอะไรขึ้น เราจะป้อนข้อมูลจากสมอง และไปสนองความต้องการที่จักระ 2 แห่งนี้ และไม่ว่าความต้องการของเราจะเป็นอะไร จักระที่ 2 จะเป็นตัวส่งพลังงานศักดิ์สิทธิ์ไปสู่ระบบร่างกายว่า ฉันต้องการสิ่งนี้ และอวัยวะส่วนนี้ หรือองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องตอบสนองสิ่งที่ฉันต้องการ      การที่ผู้เขียนใช้คำว่าพลังงานศักดิ์สิทธิ์ตามชื่อจักระที่ 2 เพราะมันเป็นพลังที่นิยามไม่ได้ ถ้าจะถามว่า “มันเป็นเรื่องของความเชื่อใช่ไหม?” ต้องยอมรับครับว่าใช่ เราไม่สามารถนิยามพลังงานแฝงบางอย่างในร่างกายได้เป็นความจริง เพราะถ้าหากเป็นพลังงาน ATP เราสามารถวัดและประมาณค่าได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่พลังแฝงบางอย่างของร่างกาย วิทยาศาสตร์อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่มนุษย์ทุกคนรับรู้ได้ เวลาที่คุณต้องการทำอะไรจริงจังถึงแม้จะพักผ่อนน้อย แค่เพียงฝืนร่างกายกลับทำให้มันสำเร็จได้อย่างไม่น่าเชื่อ ผู้เขียนจึงนิยา...

เทคนิคการหมุนจักระห้าและสี่ อนาหตะ/วิสุทธิ จักระคอและหัวใจ

รูปภาพ
  ขั้นที่ 4 ฝึกหมุนจักระที่ 5 และ 4      หลังจากที่คุณฝึกเปิดและบริหารจักระที่ 3 เป็นที่เรียบร้อย ลำดับต่อไปคือ จักระที่ 5 และ 4 ทั้งสองจักระนี้ให้ฝึกร่วมกันเพราะการทำงานของหัวใจและหลอดลมนั้นสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยแบ่งการหมุนจักระเป็น 1 ลมหายใจ ต่อ 1 จักระ คุณอาจจะเริ่มจากจักระที่ 5 ก่อน เพราะเป็นต้นทางของลมหายใจ ในขณะที่ฝึกจักระที่ 5 ให้วางมือในท่วงท่าของชุนยะมุทรา Shunya Mudra หรืออากาศมุทรา Akasha Mudra เพื่อหมุนจักระ 5 ต่อเมื่อสิ้นสุด 1 ลมหายใจ ให้ปรับท่วงท่ามาเป็น วายุมุทรา เพื่อหมุนจักระ 4 การฝึกหมุนจักระสลับกันแบบนี้ให้ทำ 1 เซ็ต คือ อย่างละ 5 รอบเท่านั้น ( หมายเหตุ : ให้เลือกใช้มุทราท่าใดท่าหนึ่ง แล้วจำให้ได้ว่าประจำจักระใด) 4.1 ใช้หลักการฝึกเบื้องต้นเหมือนการหมุนจักระ 7 ดึงลมมาให้สุดท้องน้อยเหมือนเดิม จินตภาพรับพลังที่จักระศีรษะเหมือนเดิมทุกประการ หลังจากลมเต็มท้องน้อย ก็ให้เคลื่อนจินตภาพมาอยู่ที่จักระ 5 บริเวณจุดกึ่งกลางระหว่างบ่าสองข้าง ลองเอามือสัมผัสดูจะมีกระดูกที่นูนขึ้นมาเล็กน้อย ให้หมุนบริเวณนั้นนะครับ ไม่ใช่หมุนที่ต้นคอด้านหน้า 4.2 เวลากักลมหาย...

เทคนิคหมุนจักระที่สาม มณีปุระ จักระแสงอาทิตย์

รูปภาพ
  ขั้นที่ 3 ฝึกหมุนจักระที่ 3 3.1 ใช้หลักการฝึกเบื้องต้นเหมือนการหมุนจักระที่ 7 คือเริ่มจากจินตภาพจากจักระที่ 7 เป็นรัศมีสีม่วงหมุนวน พลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไหลเคลื่อนไปตามแนวกระดูกสันหลังสู่จักระที่ 3 ในขณะเดียวกันดึงลมหายใจลงให้สุดท้องน้อย หน้าท้องพองออกเหมือนเดิม แต่เมื่อดึงลมสุดท้องน้อยแล้ว ในขณะที่กักลม ให้สร้างจินตภาพที่สองขึ้น คือรัศมีสีเหลืองกำลังหมุนตามเข็มนาฬิกาอยู่บริเวณแนวสะดือตัดไปสู่กระดูกสันหลัง ในขณะที่ฝึกจักระ 3 นี้ ลักษณะมืออยู่ในท่วงท่าอัคนีมุทรา Agni Mudra มุทราแห่งไฟ บางตำราเรียกท่านี้ว่าสุริยามุทรา ดังภาพ (จินตภาพหมุนที่บริเวณกระดูกสันหลังแนวเดียวกันนั้น ไม่ใช่หมุนที่สะดือนะครับ) กักลมไว้ 3 -5 วินาทีตามสูตร แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมออกทางจมูก) 3.2 ขณะที่ผ่อนลมออก ให้นับเป็นวินาทีก็ได้จะได้สะดวกต่อการฝึก คือ ในขณะที่กักลมไว้หมุนจักระ 3 วินาที ไปตามเข็มนาฬิกาสำเร็จแล้ว ตอนผ่อนลมออก ให้หมุนรัศมีสีเหลืองทวนเข็มนาฬิกาสัก 3 วินาที แล้วในขณะเคลื่อนออกจากจมูกอย่างช้า ก็ให้จินตภาพจับสายลมหายใจออก เลื่อนขึ้นเรื่อย ๆ สัก 2-5 วินาที เลื่อนไปจนสุดที่กลางกระหม่อม เมื่อไปถึงให้หมุนจั...

เทคนิคการหมุนจักระที่เจ็ด สหัสราระ/สหัสธาร จักระมงกุฎ

รูปภาพ
  ขั้นที่ 2 ฝึกหมุนจักระที่ 7 2.1 ลำดับการหมุนจักระ ให้เริ่มจากจักระที่ 7 เมื่อคุณฝึกฟอกปราณบริหารปอดฯ และหลอดลมสำเร็จแล้ว ให้เริ่มฝึกสมาธิปราณจักระที่ 7 คือทำทุกขั้นตอนเหมือนเดิม แต่เวลาฝึกหมุนจักระให้หลับตาเหมือนนั่งสมาธิ และเปลี่ยนให้แผ่วเบาลง ปล่อยตัวตามสบาย สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือ เมื่อดึงลมหายใจเข้า ให้จินตภาพว่ามีรัศมีวงกลมสีม่วงกำลังหมุนเวียนไปตามเข็มนาฬิกาที่บริเวณกลางศีรษะ หมุนวนอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเร็ว หมุนให้เราจับภาพในจินตนาการได้ว่า พลังงานจากห้วงจักรวาลกำลังไหลผ่านรัศมีสีม่วงลงมาตามลมหายใจ และไปสิ้นสุดที่บริเวณท้องน้อยเหมือนเดิม การฝึกขั้นที่สองนี้ ลักษณะมือยังคงอยู่ในท่า ฮาคินีมุทราอยู่อย่างนั้น ทำเช่นเดิมกับขั้นตอนที่ 1 ทุกประการ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือจินตภาพที่กำหนดให้ชัดเจนที่สุด และในการจินตภาพทุกครั้ง ให้ผู้ฝึกกำหนดความรู้สึกไปอยู่บริเวณจักระดังกล่าวเสมอ เทคนิคการไล่ความรู้สึกไปตามเส้นปราณจะคุ้นเคยเมื่อทำการฝึกบ่อยครั้งขึ้น กล่าวคือ #รู้สึกว่าหมุนอยู่ตรงนั้น #รู้สึกว่าเคลื่อนจากจุดนั้นไปตามกระดูกสันหลัง #ความรู้สึกจะไล่ไปพร้อมกับลมหายใจ #เคลื่อน...

ฝึกฟอกปราณ บริหารปอดและหลอดลม

รูปภาพ
         ในสูตรการฝึกนี้ได้ลำดับขั้นตอนการฝึกไว้ทั้งหมด 7 ขั้น นั่นหมายความว่า คุณจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ขั้นแรกและไล่ไปตามลำดับ ซึ่งมันอาจไม่ตรงกับองค์ความรู้ที่คุณเคยศึกษามาก่อนหน้านี้สักเท่าไหร่นัก เพราะเป็นสูตรที่ผู้เขียนทดลองเรียนรู้ด้วยตนเองมาพอสมควร ค้นหาคำตอบจากตำราเมืองไทยและต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางที่สอดคล้องที่สุด จะว่าเป็นศิษย์หลายครูก็คงไม่แปลก เพราะทุกตำราคือครูของผู้เขียน แต่มันกลับได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม (วิดิโอประกอบบทความ) ขั้นตอนที่1 ฟอกปราณบริหารปอดและหลอดลม 1.1 นั่งในท่าขัดสมาธิ (อ่านว่าขัดสะหมาด) คือนั่งคู้เข่าทั้งสองข้างให้แบะลงที่พื้น ถ้ายกเท้าขึ้นมาวางซ้อนกันธรรมดา ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ใต้เข่า เรียกว่า “ขัดสมาธิสองชั้น” ถ้ายกเท้าขวาขึ้นมาทับเท้าซ้าย ฝ่าเท้าขวาอยู่บนเข่าซ้าย ฝ่าเท้าซ้ายอยู่ใต้เข่าขวา เรียกว่า “ขัดสมาธิราบ” แต่หากไขว้เท้าทั้งสอง โดยให้ฝ่าเท้าทั้งสองลอยอยู่ข้างบน แบบนี้เรียกว่า “ขัดสมาธิเพชร”      ถ้าฝึกบ่อยขึ้น นั่งบ่อยขึ้น ก็จะสามารถนั่งขัดสมาธิเพชรได้อย่างไม่ปวดไม่ตึง ซ...

มุทราสูตรกับระบบจักระ

รูปภาพ
       สำหรับการฝึกปราณจักระที่จะกล่าวถึงนี้ จะเชื่อมโยงกับมุทราให้เป็นท่าร่างร่วมกับการฝึกด้วย “มุทรา” (Mudra) แปลว่า ตราประทับ หรือสัญลักษณ์ คือ ท่ามือที่ใช้เพื่อกระตุ้นสภาวะจิต เป็นวิถีเก่าแก่ของศาสตร์อินเดียโบราณอีกเช่นกัน มีจำแนกออกไปอีกหลายสายจากพื้นฐานความคิดเดียวกัน แต่อาจจะเกิดการนิยามความหมายใหม่ก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ในนิกายตันตระจำแนกมุทราไว้ถึง 108 ท่า หรือจะเป็นโยคะสูตร อีกหลายร้อยท่า และมีการกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างนิ้วทั้ง 5 กับระบบจักระที่แตกต่างกัน ให้คุณสังเกตได้จากการปั้นพระพุทธรูป หรือพระโพธิสัตว์ จะแสดงมือในแบบมุทราทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่นั่งประทับและวางมือด้วยธยานมุทรา แต่รูปปั้นพระบางองค์อาจจะปั้นออกมาได้ไม่ละเอียดนัก จึงผิดเพี้ยนไปบ้างก็มี (วิดิโอประกอบบทความ)      ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จักระหลัก จะถูกอ้างอิง 4-7 จักระ และในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในยุคโบราณ ก็ไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับจำนวนจักระ เนื่องจากถูกพัฒนาและตีความกันไปแตกต่างกันตามนิกาย หรือสำนักต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาที่ค่อน...

การกำหนดจินตภาพ (Visualize) เพื่อการฝึกปราณ

รูปภาพ
       Visualize   หลักในการกำหนดจินตภาพ คือการจินตนาการอย่างที่กล่าวข้างต้น ศัพท์สมัยใหม่มักจะเรียกว่า “Visualize” (วิชวลไลซ์) เป็นเทคนิคในการบริหารจิตให้สอดคล้องกับระบบประสาท สร้างภาพกงจักรหมุนวนสีต่าง ๆ ไปวางตามตำแหน่งจักระ ผสานกับการบริหารกายด้วยลมหายใจและท่านั่งสมาธิในแบบ “คู้บัลลังก์” ที่เป็นท่าร่างพื้นฐานในการนั่งฝึกปราณายามะ หรือที่บ้านเราเรียกว่า “นั่งขัดสมาธิ” นั่นเอง (คลิปวิดิโอประกอบบทความ)      การใช้ จินตภาพ เชื่อมต่อกับจุดสำคัญบนกระดูกไขสันหลัง อันเป็นที่ตั้งของเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ ดังนั้นจุดจักระจึงเปรียบเสมือนจุดศูนย์รวมประสาท ที่เกิดขึ้นโดยการสร้างจินตภาพและกำหนดความรู้สึกของผู้ฝึก และผู้ฝึกปราณจักระจะต้องทำร่างกายให้เสมือนเป็นทางผ่านของพลังงานเหล่านั้น ที่หมุนวนเข้าออกอย่างอิสระ หรือช่วยสนับสนุนการทำงานโดยอัตโนมัติของระบบสำคัญของร่างกาย อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า ระบบเหล่านี้อยู่คู่กับเราไปจนวันตาย และทำงานแบบ 24 ชม.      เมื่อทำการฝึกสมาธิในแบบปราณจักระ คือรับเข้ามาผ่านลมหายใจเข้า และถ่ายเทออกไปผ่านลมหายใจออก...

รู้จักกับพลังคอสมิก Cosmic Power ในแบบการฝึกปราณที่ถูกต้อง

รูปภาพ
       รังสีคอสมิก เป็นอนุภาคพลังงานสูงจากนอกโลกที่เคลื่อนที่ในอัตราความเร็วแสง และพุ่งลงมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกตลอดเวลา สามารถเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กโลกได้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ (Victor Francis Hess) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน จากการส่งบอลลูนบรรทุกเครื่องอิเล็กโตรสโคปขึ้นสู่ท้องฟ้า ถึงระดับความสูงประมาณ 13 กิโลเมตร ที่ระดับความสูงยิ่งมาก เครื่องอิเล็กโตรสโคปก็ยิ่งจับรังสีได้มากเช่นกัน (วิดิโอประกอบบทความ) พลังคอสมิก (Cosmic Rays)      กล่าวกันว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมพลังงานที่จับต้องไม่ได้แต่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น แสงหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เราสามารถมองเห็นแสงได้ เราพิสูจน์ได้ด้วยตาเปล่า แต่เราก็จับต้องไม่ได้ อากาศเรารู้สึกได้ แต่เราจับต้องไม่ได้ รังสีคอสมิกก็เช่นกัน เป็นอนุภาคพลังงานสูงจากนอกโลกที่เคลื่อนที่ในอัตราความเร็วแสง และพุ่งลงมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกตลอดเวลา สามารถเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กโลกได้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์...

จักระ คืออะไร เชื่อมโยงการทำงานของร่างกายอย่างไร

รูปภาพ
  จักระคืออะไร       จักระทั้ง 7 เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างขุมพลังในห้วงจักรวาล เป็นเสมือนกุญแจเปิดประตูทางผ่านระหว่างพลังเหล่านั้น การฝึกปราณจักระ ที่จะกล่าวถึงนี้ จะเชื่อมโยงกับมุทราให้เป็นท่าร่างร่วมกับการฝึก ด้วย “มุทรา” (Mudra) แปลว่า ตราประทับ หรือสัญลักษณ์ กล่าวคือ ท่ามือที่ใช้เพื่อกระตุ้นสภาวะจิต เป็นวิถีเก่าแก่ของศาสตร์อินเดียโบราณ มีจำแนกออกไปอีกหลายสายจากพื้นฐานความคิดเดียวกัน แต่อาจจะเกิดการนิยามความหมายใหม่ก็เป็นไปได้ (คลิปวิดิโอประกอบบทความ)      เรามาทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบของจักระกันบ้าง โดยจุดจักระทั้ง 7 เหล่านี้ จะหมุนวนเป็นศูนย์ควบคุมในตำแหน่งที่สำคัญต่อระบบร่างกาย ไล่ไปตามลำดับของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ทอดผ่านแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง และทำงานร่วมกันระหว่างสมองกับไขสันหลัง อันเป็นศูนย์ประมวลผลของร่างกาย โดยที่สมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนใหญ่ ได้แก่ การรับรู้, การเคลื่อนไหว, การคิด, การพูด และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ส่ว...

ปราณวิถีกับแนวคิดและการฝึกหายใจพื้นฐาน

รูปภาพ
  ปราณกับพุทธศาสนา       ถ้าเราสนใจศึกษาเกี่ยวกับการฝึกปราณ ฉันจะผิดบาปในเชิงพุทธศาสนาหรือไม่ ขัดหลักคำสอนหรือเปล่า ซึ่งหากข้อสงสัยนี้ยังอยู่ภายในใจของท่าน ผู้เขียนตอบได้เลยว่า ผิดแนวทางคำสอน ของพระสงฆ์ ไม่พึงปฏิบัติ เป็นอย่างยิ่ง ตีกรอบชัดเจนสำหรับสงฆ์สาวกครับ ในฐานะปุถุชนคนธรรมดา ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง และไม่ผิดหลักคุณธรรม จริยธรรมแน่นอนครับผม (คลิปวิดิโอประกอบบทความ)      กล่าวมาถึงตรงนี้คงจะพอทำให้ทราบนะครับว่า คำว่า “ปราณ “ หรือลมปราณนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะมีการสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่ก่อนพุทธกาล และมีการนำมาใช้ต่อยอดจากการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงที่เรียกว่าสัจธรรมและอริยสัจ 4 ซึ่งในหลักการทางพุทธศาสนาถูกบัญญัติไว้ ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน และการเจริญกรรมฐาน ลักษณะที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือท่านั่งคู้บัลลังก์และการวางมือในรูปแบบมุทรา หรือพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่ใช้ท่วงท่าของธยานมุทรามาเป็นต้นแบบ ดังนั้น หากจะกล่าวว่าปราณวิถีดั้งเดิมของอินเดียโบราณ เป็นต้นแบบการปฏิบัติสมาธิของพุทธศาสนาก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่เป้าหมายของการปฏิบัติฉีกแ...