ฝึกฟอกปราณ บริหารปอดและหลอดลม

 


       ในสูตรการฝึกนี้ได้ลำดับขั้นตอนการฝึกไว้ทั้งหมด 7 ขั้น นั่นหมายความว่า คุณจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ขั้นแรกและไล่ไปตามลำดับ ซึ่งมันอาจไม่ตรงกับองค์ความรู้ที่คุณเคยศึกษามาก่อนหน้านี้สักเท่าไหร่นัก เพราะเป็นสูตรที่ผู้เขียนทดลองเรียนรู้ด้วยตนเองมาพอสมควร ค้นหาคำตอบจากตำราเมืองไทยและต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางที่สอดคล้องที่สุด จะว่าเป็นศิษย์หลายครูก็คงไม่แปลก เพราะทุกตำราคือครูของผู้เขียน แต่มันกลับได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม

(วิดิโอประกอบบทความ)

ขั้นตอนที่1 ฟอกปราณบริหารปอดและหลอดลม
1.1 นั่งในท่าขัดสมาธิ (อ่านว่าขัดสะหมาด) คือนั่งคู้เข่าทั้งสองข้างให้แบะลงที่พื้น ถ้ายกเท้าขึ้นมาวางซ้อนกันธรรมดา ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ใต้เข่า เรียกว่า “ขัดสมาธิสองชั้น” ถ้ายกเท้าขวาขึ้นมาทับเท้าซ้าย ฝ่าเท้าขวาอยู่บนเข่าซ้าย ฝ่าเท้าซ้ายอยู่ใต้เข่าขวา เรียกว่า “ขัดสมาธิราบ” แต่หากไขว้เท้าทั้งสอง โดยให้ฝ่าเท้าทั้งสองลอยอยู่ข้างบน แบบนี้เรียกว่า “ขัดสมาธิเพชร”


     ถ้าฝึกบ่อยขึ้น นั่งบ่อยขึ้น ก็จะสามารถนั่งขัดสมาธิเพชรได้อย่างไม่ปวดไม่ตึง ซึ่งเป็นท่าร่างพื้นฐานในการฝึกปราณที่ดีมาก แต่ถ้าใครที่นั่งขัดสมาธิเพชร หรือแม้แต่จะขัดสมาธิก็ไม่ไหวจริง ๆ ไม่ใช่ปัญหา อนุโลมเป็นการนั่งบนเก้าอี้หรือม้าหินอ่อนได้ แต่ต้องระวังนิด ถ้าใครคิดจะนั่งขัดสมาธิบนโซฟานุ่มเพราะไม่เจ็บตาตุ่ม จะไม่ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างหนัก เนื่องจากฐานล่างขาดความสมดุล ถ้าจำเป็นต้องนั่งบนโซฟา สู้วางเท้าไว้ที่พื้นทั้งสองข้างให้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นพอดี ไม่เขย่งปลายเท้า แบบนั้นก็ถือว่าใช้ได้ดีกว่า ถ้าจะขัดสมาธิกับผ้ารองนั่ง หรือเบาะรองนั่งนั่นก็ถือว่ากำลังดี


1.2 เมื่อได้ท่านั่งแล้ว สำคัญคือหลังต้องตรง เพื่อให้การหายใจสะดวกที่สุด และวางมือในลักษณะของ ฮาคินีมุทราในการฝึก โดยประสานมือไว้กลางหน้าอกของตนเอง

1.3 ปล่อยลมหายใจออกทางปากจนหมด จนกระทั่งท้องแฟบ รีดลมออกไม่ให้เหลือ รีดหน้าท้องให้แบนราบ

1.4 ดึงลมเข้าทางจมูกอย่างช้า สร้างจินตภาพว่า พลังจากสนามแม่เหล็กในห้วงจักรวาล กำลังหลั่งไหลเข้าสู่กลางกระหม่อม ไหลลึกลงไปพร้อมลมหายใจเข้าสู่ท้องน้อย (ขณะฝึกฟอกปราณไม่ต้องหลับตา)

1.5 ดึงลมหายใจตามขั้นตอนที่ 4 ไปให้สุดท้องน้อยแต่ไม่ต้องพยายามเกร็งจนท้องแข็ง เอาที่เหมาะสมสบายตัว บางคนฝืนเกร็งดึงลมจนเกินไป กักไว้นานเกินไปจะส่งผลทำให้หน้ามืด หรือชาบริเวณศีรษะ หรืออาจจะเสียดท้อง ติดขัด เนื่องจากเนื่องจากปกติไม่เคยหายใจลงสุด หรือได้บริหารกระบังลมมาก่อน จึงไม่ต้องหักโหม ทำเท่าที่ไหวเป็นไปอย่างช้า เมื่อดึงลมแล้วกักลมไว้ที่ท้องน้อยชั่วครู่ ประมาณ 3-5 วินาที เอาที่ร่างกายเราไหวและผ่อนคลายมากที่สุด ให้ทำตามที่ร่างกายต้องการ นั่นหมายความว่า ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ทำแล้วสบายผ่อนคลายโล่งปอด

1.6 หลังจากกักลมไว้ตามข้อ 5 ให้ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้า แผ่วเบา ผ่อนไปเรื่อย จนหมดหน้าท้อง และท้องแฟบเหมือนเดิม .ในขณะที่ผ่อนลมหายใจให้สร้างจินตภาพว่า พลังงานที่หลั่งไหลเข้ามาจากห้วงจักรวาลนั้น กำลังส่งออกไปพร้อมกับลมหายใจ ขึ้นไปบนศีรษะ และออกไปทางกลางกระหม่อม กลับคืนสู่ห้วงจักรวาล

1.7 ทำแบบนี้เป็นจำนวน 3-5 ครั้ง ก่อนการฝึกปราณจักระทุกประเภท เพื่อเป็นการปรับสภาพร่างกายให้พร้อมสำหรับการฝึกขึ้นต่อไป

ผลจากการฝึกขั้นที่ 1 : ร่างกายจะเบาขึ้น หายใจสะดวกขึ้น จะมีความรู้สึกวูบวาบที่จักระ 7 เป็นสัญญาณบอกถึงความพร้อมในการฝึกต่อ

หมายเหตุ : อย่าลืมฟอกปราณบริหารปอดฯ สามรอบก่อนเริ่มต้น
การฝึกทุกท่วงท่า และปิดจบการฝึกจักระให้ทำทุกครั้ง”


สนับสนุนอาจารย์ผู้สอนโดยการสั่งซื้อหนังสือ "ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิตได้ที่นี่

พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

สนใจหนังสือเกี่ยวกับตำนานและศาสตร์พยากรณ์ คลิกที่นี่




ความคิดเห็น

คนชอบอ่าน

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ วานส์” (QUEEN OF WANDS)

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ เพนตาเคิลส์” (QUEEN OF PENTACLES)

ความหมายของไพ่บุคคล คิง ออฟ คัพส์ (KING OF CUPS)

ความหมายของไพ่ "เดอะ เวิลด์" (THE WORLD) สอนอ่านไพ่ยิปซี